หน่วยการเรียนรู้ที่ 4



                จิตวิทยาการเรียนการสอน
แนวคิด                 
.  การ เรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลเนื่องมาจากการได้รับ ประสบการณ์และทำให้บุคคลเผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
.  การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยวุฒิภาวะ  ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวร  ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ และมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและความสามารถทั้งทางปริมาณและคุณภาพ
.  ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของบทเรียน 
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้  สามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม   เมื่อศึกษาจบบทเรียนผู้เข้ารับการศึกษาแต่ละคนสามารถ
                             . องค์ประกอบของการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
                             . อธิบายธรรมชาติของการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
                                . อธิบายการถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
                             . วางแผนนำทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ไปใช้ในการเรียนการสอนได้ถูกต้อง
กิจกรรมการเรียนการสอน
                             .  กิจกรรมของครู    -  บรรยายและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                                                          -  ตอบคำซักถาม
                             .  กิจกรรมของผู้เข้ารับการศึกษา
                                                                -  ฟังบรรยายและร่วมปฏิบัติกิจกรรม
                                                                -  ซักถาม
สื่อการสอน          เอกสารประกอบการสอน
การประเมินผล    -  ประเมินผลจากกิจกรรมในห้องเรียน และใช้แบบทดสอบ



การเรียนรู้  เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย  สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก
อื่น ๆ    ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ  ที่ว่า  "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า   คนย่อมมีปัญญา  ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ .  "  การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข  ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ  ได้    ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย
ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
                คิมเบิล  (   Kimble ,  1964   )  "การเรียนรู้   เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม  อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
                ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์  (Hilgard & Bower, 1981)  "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก   ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ  ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์  "
                คอนบาค  (  Cronbach  )  "การเรียนรู้  เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
                พจนานุกรมของเวบสเตอร์  (Webster 's  Third  New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ  กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้  ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
                ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง  เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า ร้อน เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา  เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร  ต่อไป เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น  เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว  เช่นนี้กล่าวได้ว่า ประสบการณ์
ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม  ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
                ๑.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
                ๒.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
                ๓.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
                ๔.  พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
                ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง  แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก  การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
                พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ  (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน    ด้าน    ดังนี้
                ๑.  ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์และประเมินผล
                ๒.  ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก  ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ  ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
                ๓.  ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว  การกระทำ  การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
                ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔  ประการ คือ
                ๑.  แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล    เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
                ๒.  สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ   ที่ครูนำมาใช้
                ๓.  การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น
                ๔.  การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
ธรรมชาติของการเรียนรู้
                การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
                ๑.  การเรียนรู้เป็นกระบวนการ  การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ
                     ๑.๑  มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
                     ๑.๒  บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง ๕
                     ๑.๓  บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
                     ๑.๔  บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
                     ๑.๕  บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า



 









        
การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า (Stimulus) มากระตุ้นบุคคล  ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัส (Sensation) ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕  แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ (Perception)ใหม่  อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น  เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Concept) และมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้า  ตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่า  เกิดการเรียนรู้แล้ว
               

๒.  การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
                ๓.  การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
                การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน คือ การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน  การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
                ๔.  การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน 
                ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน  มีความสามารถในการเรียนต่างกัน  มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน 
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน  ถ้าใช้วิธีเรียนต่างกัน ผลของการเรียนรู้อาจมากน้อยต่างกันได้  และวิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากสำหรับบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่วิธี เรียนที่ทำให้อีกบุคคลหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่ากับบุคคลนั้นก็ได้
การถ่ายโยงการเรียนรู้
                การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) และการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer) 
                การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น หรือดีขึ้น   การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก มักเกิดจาก
                ๑.  เมื่องานหนึ่ง มีความคล้ายคลึงกับอีกงานหนึ่ง  และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้งานแรกอย่างแจ่มแจ้งแล้ว
                ๒.  เมื่อผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างงานหนึ่งกับอีกงานหนึ่ง
                ๓.  เมื่อผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะนำผลการเรียนรู้จากงานหนึ่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับการเรียนรู้อีกงานหนึ่ง  และสามารถจำวิธีเรียนหรือผลของการเรียนรู้งานแรกได้อย่างแม่นยำ
                ๔.  เมื่อผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  โดยชอบที่จะนำความรู้ต่างๆ ที่เคยเรียนรู้มาก่อนมาลองคิดทดลองจนเกิดความรู้ใหม่ๆ
                การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)  คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง  หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร  การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ อาจเกิดขึ้นได้ ๒ แบบ คือ
                ๑.  แบบตามรบกวน (Proactive Inhibition)  ผลของการเรียนรู้งานแรกไปขัดขวางการเรียนรู้งานที่ ๒
                ๒.  แบบย้อนรบกวน (Retroactive Inhibition)  ผลการเรียนรู้งานที่ ๒ ทำให้การเรียนรู้งานแรกน้อยลง
การเกิดการเรียนรู้ทางลบมักเกิดจาก
-  เมื่องาน ๒ อย่างคล้ายกันมาก แต่ผู้เรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้งานใดงานหนึ่งอย่างแท้จริงก่อนที่จะเรียนอีกงานหนึ่ง  ทำให้การเรียนงาน ๒ อย่างในเวลาใกล้เคียงกันเกิดความสับสน
-  เมื่อผู้เรียนต้องเรียนรู้งานหลายๆ อย่างในเวลาติดต่อกัน  ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งอาจไปทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนในการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้
การนำความรู้ไปใช้
                ๑.  ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
                ๒.  พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
                ๓.  ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
                ๔.  ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
                ๕.  พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
                ลักษณะสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัย    ประการ  คือ
                .   มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน   ถาวร
                ๒.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ  เท่านั้น
                ๓.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้  ความเข้าใจ  ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้   (Theory of Learning)
             ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก  เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์  เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ     วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์  มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ  แบ่งออกได้    กลุ่มใหญ่ๆ     คือ
             ๑.   ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
             ๒.   ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง
            ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response)  ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism)  ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง    พฤติกรรมที่มองเห็น และสังเกตได้มากกว่ากระบวนการคิด  และปฏิกิริยาภายในของผู้เรียน  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
             ๑.   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข   (Conditioning Theories)
                  ๑.๑   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  (Classical Conditioning Theories)
                  ๑.๒   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
             ๒.   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง  (Connectionism Theories)
                  ๒.๑   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง    (Connectionism Theory)   
                  ๒.๒   ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง     (S-R Contiguity Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
            อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก บุคคลสำคัญของทฤษฎีนี้   ได้แก่    Pavlov,  Watson,  Wolpe   etc.
Ivan  P.  Pavlov
            นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย (1849 - 1936)  ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (Unconditioned  Stimulus = UCS)  และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus)  จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned  Stimulus  =  CS)  และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข  (Unconditioned   Response  = UCR)  เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข  (Conditioned   Response  =  CR) ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้
๑.   ก่อนการวางเงื่อนไข
                  UCS    (อาหาร)                                        UCR     (น้ำลายไหล)
                  สิ่งเร้าที่เป็นกลาง  (เสียงกระดิ่ง)                        น้ำลายไม่ไหล
๒.   ขณะวางเงื่อนไข
                  CS   (เสียงกระดิ่ง) + UCS  (อาหาร)                   UCR    (น้ำลายไหล)
                ๓.   หลังการวางเงื่อนไข
                  CS   (เสียงกระดิ่ง)                                      CR     (น้ำลายไหล)
หลักการเกิดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  คือ  การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข  (CR)  เกิดจากการนำเอาสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS)   มาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (UCS) ซ้ำกันหลายๆ  ครั้ง  ต่อมาเพียงแต่ให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS) เพียงอย่างเดียวก็มีผลทำให้เกิดการตอบสนองในแบบเดียวกัน
ผลจากการทดลอง    Pavlov    สรุปหลักเกณฑ์ของการเรียนรู้ได้ ๔ ประการ  คือ
                ๑.   การดับสูญหรือการลดภาวะ (Extinction) เมื่อให้ CR นานๆ  โดยไม่ให้ UCS  เลย การตอบสนองที่มีเงื่อนไข (CR) จะค่อยๆ  ลดลงและหมดไป
                ๒.  การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ  ( Spontaneous Recovery )  เมื่อเกิดการดับสูญของการตอบสนอง (Extinction) แล้วเว้นระยะการวางเงื่อนไขไปสักระยะหนึ่ง  เมื่อให้ CS จะเกิด CR โดยอัตโนมัติ
๓.  การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization) หลังจากเกิดการตอบสนองที่มีเงื่อนไข ( CR )  แล้ว  เมื่อให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS)   ที่คล้ายคลึงกัน จะเกิดการตอบสนองแบบเดียวกัน
๔.   การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination) เมื่อให้สิ่งเร้าใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข จะมีการจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า และมีการตอบสนองที่แตกต่างกันด้วย
John  B.   Watson           
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน   (1878 -  1958)  ได้ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ  ๑๑  เดือน  โดยใช้หลักการเดียวกับ  Pavlov  หลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้  ดังนี้
๑.  การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า         ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
๒.  การลดภาวะ   หรือการดับสูญการตอบสนอง   (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่  (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า  Counter  - Conditioning
Joseph   Wolpe
            นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1958) ได้นำหลักการ Counter  -  Conditioning  ของ  Watson  ไปทดลองใช้บำบัดความกลัว  (Phobia)  ร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation)   เรียกวิธีการนี้ว่า Desensitization
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
๑.   ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์  ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ  เช่น  วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน  เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
๒.   ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
๓.   ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว  ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด  และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
            B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior)  สกินเนอร์ได้แบ่ง    พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ๒  แบบ  คือ
            ๑.   Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ   หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflex)  ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์     ความรู้สึกต่างๆ
            ๒.   Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด  หรือเลือกที่จะแสดงออกมา   ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน  เช่น  กิน  นอน  พูด  เดิน  ทำงาน   ขับรถ  ฯลฯ.
            การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์   เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า    จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ  Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร  ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ   คือ การเสริมแรง  หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
                                                พฤติกรรม


 
                     การเสริม                                              การลงโทษแรง                                                                                 








 
              ทางบวก      ทางลบ                                         ทางบวก               ทางลบ












 
           ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น                                   ความถี่ของพฤติกรรมลดลง

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
                ๑.   การเสริมแรง   และ   การลงโทษ
๒.  การปรับพฤติกรรม   และ  การแต่งพฤติกรรม
๓.  การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
การเสริมแรงและการลงโทษ
            การเสริมแรง (Reinforcement)  คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี    ทาง ได้แก่
๑.   การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
๒.   การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
            การลงโทษ  (Punishment) คือ  การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง    การลงโทษมี    ทาง   ได้แก่
๑.   การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ  มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
๒.   การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
ตารางการเสริมแรง   (The Schedule of Reinforcement) 
๑.   การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงทุกครั้งที่บุคคลแสดงพฤติกรรมตามต้องการ
๒.  การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Intermittent Reinforcement) ซึ่งมีการกำหนดตารางได้หลายแบบ ดังนี้
     ๒.๑  กำหนดการเสริมแรงตามเวลา (Iinterval schedule)
  ๒.๑.๑    กำหนดเวลาแน่นอน (Fixed Interval Schedules  =  FI) 
  ๒.๑.๒   กำหนดเวลาไม่แน่นอน (Variable Interval Schedules  =  VI )
     ๒.๒  กำหนดการเสริมแรงโดยใช้อัตรา (Ratio schedule)  ๒.๒.๑   กำหนดอัตราแน่นอน  (Fixed Ratio   Schedules   =   FR) 
  ๒.๒.๒   กำหนดอัตราไม่แน่นอน (Variable Ratio Schedules   =  VR)
การปรับพฤติกรรมและการแต่งพฤติกรรม
            การปรับพฤติกรรม  (Behavior   Modification) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์  โดยใช้หลักการเสริมแรงและการลงโทษ
            การแต่งพฤติกรรม    (Shaping  Behavior )   เป็นการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมใหม่   โดยใช้วิธีการเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย  จนกระทั่งเกิดพฤติกรรมตามต้องการ
บทเรียนสำเร็จรูป     (Programmed   Instruction)
เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา หรือครูผู้สอนสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและ   คำเฉลย  การสร้างบทเรียนโปรแกรมใช้หลักของ  Skinner  คือเมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรม จบ ๑ บท  จะมีคำถามยั่วยุให้ทดสอบความรู้ความสามารถ  แล้วมีคำเฉลยเป็นแรงเสริมให้อยากเรียนบทต่อๆ ไปอีก
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์    (Thorndike's  Connectionism Theory)
Edward   L.  Thorndike   (1874 - 1949)  นักจิตวิทยาการศึกษา ชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา" เขาเชื่อว่า "คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่ พึงพอใจ"  จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)  นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
๑.   กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความสำคัญคือ ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดที่เป็นที่น่าพอใจ  อินทรีย์ย่อมกระทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีกและผลของปฏิกิริยาใดไม่เป็นที่พอใจบุคคลจะหลีกเลี่ยงไม่ทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีก
๒.  กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) มีใจความสำคัญ ๓ ประเด็น คือ
     ๒.๑  ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วได้เรียน อินทรีย์จะเกิดความพอใจ
     ๒.๒  ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วไม่ได้เรียน  จะเกิดความรำคาญใจ
     ๒.๓  ถ้าอินทรีย์ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วถูกบังคับให้เรียน  จะเกิดความรำคาญใจ
๓.  กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)  มีใจความสำคัญคือ พฤติกรรมใดที่ได้มีโอกาสกระทำซ้ำบ่อยๆ และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ  ย่อมก่อให้เกิดความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ  สิ่งใดที่ทอดทิ้งไปนานย่อมกระทำได้ไม่ดีเหมือนเดิมหรืออาจทำให้ลืมได้
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.  การสอนในชั้นเรียนครูควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน จัดแบ่งเนื้อหาเป็นลำดับเรียงจากง่ายไปยาก  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจติดตามบทเรียนอย่างต่อเนื่อง  เนื้อหาที่เรียนควรมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของผู้เรียน
๒.  ก่อนเริ่มสอนผู้เรียนควรมีความพร้อมที่จะเรียน   ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง   เช่น  ป่วย เหนื่อย ง่วง หรือ หิว  จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ
๓.  ครูควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนและทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว แต่ไม่ควรให้ทำซ้ำซากจนเกิดความเมื่อยล้าและเบื่อหน่าย
๔.  ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพึงพอใจและรู้สึกประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม   โดยครูต้องแจ้งผลการทำกิจกรรมให้ทราบ หากผู้เรียนทำได้ดีควรชมเชยหรือให้รางวัล หากมีข้อบกพร่องต้องชี้แจงเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่องของกัทรี  (Guthrie's Contiguity Theory)
Edwin R. Guthrie   นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  เป็นผู้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความใกล้ชิดต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ถ้ามีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและแนบแน่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถเกิดการเรียนรู้ได้  (One Trial Learning ) เช่น ประสบการณ์ชีวิตที่วิกฤตหรือรุนแรงบางอย่าง  ได้แก่  การประสบอุบัติเหตุที่รุนแรง การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก  ฯลฯ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้ความเข้าใจ 
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง   นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า  พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง   ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight)  คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยได้อีกดังนี้
๑.   ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์  (Gestalt's Theory)
๒.   ทฤษฎีสนามของเลวิน ( Lewin's Field Theory)
ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์   (Gestalt's  Theory)
นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์  (Gestalt Psychology) ชาวเยอรมัน ประกอบด้วย   Max   Wertheimer,  Wolfgang  Kohler และ Kurt  Koftka  ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ (Perception ) การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่  นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา (Insight)
องค์ประกอบของการเรียนรู้  มี     ส่วน   คือ
๑.   การรับรู้  (Perception)  เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ซึ่งจะเน้นความสำคัญของการรับรู้เป็นส่วนรวมที่สมบูรณ์มากกว่าการรับรู้ส่วนย่อยทีละส่วน
๒.   การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการรู้แจ้ง เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัดระบบการรับรู้ ซึ่งเดวิส (Davis, 1965) ใช้คำว่า Aha ' experience 
หลักของการหยั่งเห็นสรุปได้ดังนี้
      ๒.๑   การหยั่งเห็นขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา  การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นได้ง่ายถ้ามีการรับรู้องค์ประกอบของปัญหาที่สัมพันธ์กัน บุคคลสามารถสร้างภาพในใจเกี่ยวกับขั้นตอนเหตุการณ์ หรือสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพยายามหาคำตอบ
     ๒.๒   คำตอบที่เกิดขึ้นในใจถือว่าเป็นการหยั่งเห็น  ถ้าสามารถแก้ปัญหาได้บุคคลจะนำมาใช้ในโอกาสต่อไปอีก
     ๒.๓   คำตอบหรือการหยั่งเห็นที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
ทฤษฎีสนามของเลวิน   (Lewin's Field Theory)                                                                                     
                                Kurt Lewin  นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน (1890 - 1947)  มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เช่นเดียวกับกลุ่มเกสตัลท์  ที่ว่าการเรียนรู้  เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการรับรู้  และกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาแต่เขาได้นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาร่วมอธิบายพฤติกรรมมนุษย์  เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์แสดงออกมาอย่างมีพลังและทิศทาง  (Field of Force)   สิ่งที่อยู่ในความสนใจและต้องการจะมีพลังเป็นบวก  ซึ่งเขาเรียกว่า Life space   สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบ
Lewin    กำหนดว่า  สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์    จะมี    ชนิด  คือ
๑.    สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  (Physical   environment)
๒.    สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา  (Psychological environment)  เป็นโลกแห่งการรับรู้ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับสภาพที่สังเกตเห็นโลก หมายถึง Life space นั่นเอง
Life space ของบุคคลเป็นสิ่งเฉพาะตัว ความสำคัญที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน  คือ  ครูต้องหาวิธีทำให้ตัวครูเข้าไปอยู่ใน  Life space  ของผู้เรียนให้ได้
การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้  ความเข้าใจ  ไปประยุกต์ใช้
๑.   ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง  และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด  เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น
๒.   เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน   โดยใช้แนวทางต่อไปนี้
      ๒.๑    เน้นความแตกต่าง
      ๒.๒    กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
      ๒.๓    กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
      ๒.๔    กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
      ๒.๕    กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
๓.   การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน   เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
๔.   คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน  พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์  ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้  และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
๕.   บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด  จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้
ทฤษฎีปัญญาสังคม (Social Learning Theory)
Albert  Bandura  (1962 - 1986)   นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง  เดิมใช้ชื่อว่า  "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" (Social Learning Theory)  ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น  "ทฤษฎีปัญญาสังคม"
ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทำของผู้อื่นแล้วพยายามเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคมเราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  การออกเสียง   การขับรถยนต์  การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ  เป็นต้น


ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
๑.  ขั้นให้ความสนใจ  (Attention Phase)  ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้น  เป็นขั้นตอน    ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความสามารถ ความมีชื่อเสียง และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ
๒. ขั้นจำ  (Retention Phase) เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจำของตนเอง  ซึ่งมักจะจดจำไว้เป็นจินตภาพเกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม
๓.  ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase)  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ  ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจำไว้
๔.  ขั้นจูงใจ (Motivation Phase)  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระทำ (Consequence) จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ  ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ (Vicarious Consequence) เป็นไปในทางบวก (Vicarious Reinforcement)  ก็จะจูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ  ถ้าเป็นไปในทางลบ (Vicarious Punishment) ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ 
หลักพื้นฐานของทฤษฎีปัญญาสังคม มี    ประการ  คือ
๑.  กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งกระบวนการทางปัญญา และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน
๒.  การเรียนรู้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ    ประการ  ระหว่าง ตัวบุคคล (Person)  สิ่งแวดล้อม  (Environment)  และพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีอิทธิพลต่อกันและกัน
P


B                                                          E

๓.  ผลของการเรียนรู้กับการแสดงออกอาจจะแตกต่างกัน สิ่งที่เรียนรู้แล้วอาจไม่มีการแสดงออกก็ได้ เช่น   ผลของการกระทำ (Consequence) ด้านบวก เมื่อเรียนรู้แล้วจะเกิดการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ แต่ผลการกระทำด้านลบ อาจมีการเรียนรู้แต่ไม่มีการเลียนแบบ
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.  ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด  ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า  การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ  แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
๒.  การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีปัญญาสังคมทั้งสิ้น       ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น  จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ     ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ  ไม่ว่าครูจะพร่ำบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจำ  แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว
๓.  ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี        โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี
ความหมายจิตวิทยาการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
-ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain
๒. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )
๓. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6. การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase)
ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูงองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller)เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. แรงขับ (Drive)
๒. สิ่งเร้า (Stimulus)
๓. การตอบสนอง (Response)
๔. การเสริมแรง (Reinforcement)ธรรมชาติของการเรียนรู้Stimulus สิ่งเร้า Sensation ประสาทรับสัมผัส Perception การรับรู้Concept ความคิดรวบยอด Response ปฏิกิริยาตอบสนอง Learning เกิดการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1. การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
2. การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เนื่องมาจากประสบการณ์
3. การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้
4. การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม
5. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม6. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ
7. การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
8. การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน
9. การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่10. การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้การถ่ายโยงการเรียนรู้การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer)การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)การนำความรู้ไปใช้
๑. ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่ ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
๒. พยายามสอนให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง๓. ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียน
ทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
๔. ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
๕. พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่องทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
๑. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
๑.๑ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theories)
๑.๒ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)http://sailomaonploy.blogspot.com/
๒. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)
๒.๑ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory)
๒.๒ ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)
Ivan P. Pavlovนักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus = UCS) และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response = UCR) เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้
๑. ก่อนการวางเงื่อนไขUCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล)สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (เสียงกระดิ่ง) น้ำลายไม่ไหล
๒. ขณะวางเงื่อนไขCS (เสียงกระดิ่ง) + UCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล
๓. หลังการวางเงื่อนไขCS (เสียงกระดิ่ง) CR (น้ำลายไหล)John B. Watsonนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ ๑๑ เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlovหลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้ ดังนี้
๑. การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
๒. การลดภาวะ หรือการดับสูญการตอบสนอง (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่ (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า Counter - Conditioningลำดับขั้นของการเรียนรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ
3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2) ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด
จิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม( Cognitivism)กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ทฤษฎีในกลุ่มนี้ทีสำคัญ ๆ มี 5 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีเกสตอลท์(Gestalt’s Theory)
2. ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)
ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ
1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้- สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน- แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน- กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
2. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้ในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด
4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลาง
.....จิตวิทยาการเรียนรู้
.....การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
.....1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
.....2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
.....3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
.....4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น

......พฤติกรรมการเรียนรู้
.....จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
.....1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
.....2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
.....3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
.........1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
.........2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
.........3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
.........4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก.

...จิตวิทยาพัฒนาการ
.......เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
การรับรู้และการเรียนรู้

.....การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นมีลักษณะค่อนข้างถาวร

.....หลักของการเรียนรู้ มี 3 รูปแบบ คือ
.....1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
.....2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน และเรย์นอร์ ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11 เดือน

.....โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ 5 ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข

......3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant conditioning)สกิน เนอร์ และ ธอร์นไดค์ เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบ คลาสสิกของพาฟลอฟ ธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์ ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจใน แนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้ การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง และข้าง ๆ กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย เอาสีข้างถูกรง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก ๆ นั้น ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ
จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้

.....เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึก

.....จิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด

.....จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้

.....1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
.....2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
.....3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
.....4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
.....1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
.....2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
.....3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน

.....ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
.....1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
.....2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
.....3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
.....4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
.....ระบบสารสนเทศ (Information System) ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย (2540:65) ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบสารสนเทศ (Information System) ว่า หมายถึง "ระบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม จัดเก็บและใช้สารสนเทศสนองความต้องการของหน่วยงาน ทั้งนี้โดยมีภารกิจของการจัดอย่างเป็นระบบ"
.....1. ปัจจัยนำเข้าข้มูล
.....2. การประมวลการวิเคราะห์ข้อมูล
.....3. ผลลัพธ์สารสนเทศ
.....4. ผู้ใช้
.....5. การตัดสินใจ
.....6. ผลลัพธ์การใช้สารสนเทศระบบสารสนเทศแสดงให้เห็นว่าข้อมูลซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้า
........(1) เมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลหรือการวิเคราะห์แล้ว
........(2) ก็จะเป็นสารสนเทศหรือผลลัพธ์
........(3) ซึ่งผู้ใช้สารสนเทศหรือผู้บริหาร
........(4) จะนำไปประกอบในการตัดสินใจ
........(5) และผลลัพธ์จากการตัดสินใจ
........(6) ก็ยังสามารถเป็นข้อมูล ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจในครั้งต่อไป

.....สื่อการสอนประเภทวัสดุเป็นสื่อที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุคำว่า วัสดุตรงกับคำว่าภาษาอังกฤษว่า materal
.....จอห์น ซินแคลร์ ให้ความหมายว่าวัสดุหมายถึง สิ่งที่มีคุณสมบัติ แข็งแรง ควบแน่น เป็นสารหรือสสารอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา

.....สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งที่ช่วยสอนที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง เช่น ฟิล์ม ภาพถ่ายภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของราคาสิ่งของหรือสสารที่ถูกนำมาใช้งานจะมีคุณสมบัติต่างๆ กันบางอย่างก็แข็งแรง บางอย่างก็ยืดหยุ่นดีบางอย่างแข็งเปราะ บางอย่างมีความทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า
.....สื่อการสสอนประเภทวัสดุหรือ สื่อวัสดุซึ่ง เป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพซึ่งเป็น สื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพประเภทของสื่อวัสดุสื่อประเภทของวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนใน ปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะเป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างแบบแบนบางไม่มีความหนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ รูปภาพ ตัวหนังสือสื่อวัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนเช่น หุ่นจำลองสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์สื่อ

วัสดุกราฟิก
.....1. ความหมายของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญคืองานกราฟิกได้แก่ ภาพเขียนทั้งทีเป็นภาพสี ภพขาวดำ ตัวหนังสือ เสนและสัญลักษณ์
.....2. คุณค่าของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกเป็นสื่อวัสดุ 2 มิติ ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ทางตาซึ่งถือว่าเป็นอวัยวะที่ปริมาณการรับรู้มากที่สุดเมื่อเทียบกับกี่รับรู้ด้วยประสาทรับสัมผัสด้านอื่นๆ สื่อวัสดุกราฟิกที่เห็นได้โดยทั่วไปมากมายรูปแบบ เช่น โปสเตอร์ หนังสือ วารสาร
.....3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก คือ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาการเรียนรู้
.....4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี คือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีรูปแบบง่ายต่อการเรียนรู้และการทำ ความเข้าใจไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนสื่อความหมายได้รวดเร็วชัดเจน
.....5. การออกแบบวัสดุกราฟิก คือ เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการออกแบบ
.....6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกสื่อวัสดุกราฟิกมีข้อดีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ดังนี้ คือ แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อความเข้าใจให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สามารถผลิตได้ง่ายไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษส่วนข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกได้แก่ ใช้ได้กับเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น การออกแบบและการผลิตไม่ดีอาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก
.....7. ประเภทของวัสดุกราฟิก
.........7.1 ประเภทของวัสดุกราฟิก
............7.1.1 แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร
............7.1.2 แผนภูมิต้นไม้
............7.1.3 แผนภูมิแบบสายธาร
............7.1.4 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
............7.1.5 แผนภูมิแบบองค์การ
............7.1.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
............7.1.6 แผนภูมิแบบตาราง
...........7.1.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
............7.1.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
.........7.2 แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
............7.2.1 ชนิดของแผนสถิติ เปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะนำเสนอในรูปแบบของแผนสถิติแบบใดก็ได้
............7.2.2 แผนสถิติแบบเส้น ข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
............7.2.3 แผนสถิติแบบแท่ง ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบ เคียงกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นชุด
............7.2.4 แผนสถิติแบบวงกลม ใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ ว่าเป็นเท่าไร
............7.2.5 แผนสถิติแบบรูปภาพ เป็นการแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์.
...........7.2.6 แผนสถิติแบบพื้นที่ ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด
.....7.3 แผนภาพแสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน
.....7.4 ภาพพลิก.
.....7.5 ภาพชุด.
.....7.6 แผนภาพ
.....7.7 ภาพโฆษณา
.....7.8 แผนโปร่งใส

สื่อวัสดุ 3 มิติ
.......1. ความหมายของสื่อวัสดุ 3 มิติ หมายถึงสื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้างขวาง ความยาว ความหนาลึก
.......2. ประเภทของสื่อวัสดุ
.......3 มิติ
.........3.1 หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจำกัดไม่สามารถนำมาแสดงได้
.........3.2 ของจรอง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทรับสัมผัส

.....ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์ มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว

.....ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
.....1. ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์.
....2. ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
........2.1 เทปบรรทุกเสียง ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
..........2.2 เทปวิดีทัศน์ ใช้บันทึกภาพและเสียง
..........2.3 แผ่นซีดี
..........2.4 แผ่นวีซีดี
..........2.5 แผ่นดีวีดี
..........2.6 แผ่นเอสวีซีดี
..........2.7 แผ่นเอ็กซ์วีซีดี
..........2.8 แผ่นเอ็กเอสวีซีดีบทสรุปสื่อประเภทวัสดุ เป็นสื่อที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บบรรจุความรู้และประสบการณ์ไว้เป็นอย่างดีบางชนิดสามารถสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง
เขียนโดย bunma ที่ 0:47 ไม่มีความคิดเห็น:
หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)
สื่อการเรียนการสอน

.....สื่อการสอนสื่อการเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง สื่อการสอนเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ทำให้มีการรับรู้และการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้เรียนสามารถเรียนได้มากขึ้นแต่เสียเวลาน้อยลงความหมายของสื่อการสอนหมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเป็นตัวกลางหรือตัวเชื่อมในการถ่ายทอด ประสบการณ์ไปยังผู้เรียนคุณค่าของสื่อการสอน
.....1. คุณค่าวิชาการ
.....2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
.....3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษาคุณสมบัติของการสื่อสาร
.........3.1 สามารถจับยึดประสบการณ์ การกระทำที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วไว้ได้อย่างคงทน
.........3.2 สามารถจัดแจงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
.........3.3 สามารถแจกจ่ายและขยายจำนวนของสื่อออกเป็นหลายฉบับ เพื่อเผยแพร่ไปสู่ผู้เรียนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำๆ กันได้หลายๆ ครั้งตามความต้องการประเภทของการสื่อสารสื่อการสอนครูนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนมีหลากหลายชนิด การจำแนกประเภทของการสื่อสารสอนเป็นหมวดหมู่จึงทำได้หลายวิธีโดยใช้เกณฑ์ต่างกัน

การจำแนกตามคุณสมบัติของสื่อ
.........1. วัสดุ เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบาๆ บางที่เรียกว่า ซอฟแวร์
.........2. อุปกรณ์ เป็นสื่อใหญ่หรือสื่อหนัก บางที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์
.........3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วมในการกระบวนการเรียนการสอนมากที่สุด

การจำแนกตามแบบของสื่อ
........1. สิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่บรรลุเนื้อหาในรูปของตัวหนังสือเป็นหลัก
........2. วัสดุกราฟิก เป็นสื่อที่แสดงเนื้อหาข้อความและรูปภาพ
........3. วัสดุและเครื่องฉาย เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาและข้อความและรูปภาพลงในวัสดุฉายแล้วนำเสนอโดยผ่านเครื่องฉายต่าง ๆ
........4. วัสดุถ่ายทอดเสียง เป็นสื่อที่นำเสนอเนื้อหาด้วยเสียง

การจำแนกตามประสบการณ์หลักการเลือกและใช้สื่อการสอน
.........1. การเลือก
.............1.1 การเลือกใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
.............1.2 การเลือกใช้สื่อตามระดับคุณค่าของสื่อ
.............1.3 การเลือกใช้สื่อตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน
.........2. การเตรียม
.............2.1 การเตรียมครู ได้แก่ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม พิจารณาสิ่งที่เป็นปัญหาในการสอนแล้วแก้ไข
.............2.2 การเตรียมผู้เรียน อธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าจะมีกิจกรรมอะไร ผู้เรียนควรทราบล่วงหน้ากระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
............2.3 การเตรียมชั้นเรียน จัดโต๊ะเก้าอี้ของผู้เรียนให้เพียงพอ ให้ทุกคนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ให้เป็นระเบียบและเรียงตามลำดับ
.........3. ขั้นการใช้หรือการแสดง
.........4. ขั้นติดตามผลข้อดีและข้อจำกัดของสื่อสารการเรียนการสอน
.............4.1 สื่อการสอนประเภทที่ไม่ต้องใช้เครื่องฉาย.
............4.2 สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ความถนัดในการอ่าน
.............4.3 ของจริง ของตัวอย่างมีข้อดีคือ แสดงเนื้อหาสาระที่เป็นจริงได้ตามสภาพของสิ่งนั้น
.............4.4 หุ่นจำลอง มีข้อดีคือ มีลักษณะเป็น 3 มิติ สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
.............4.5 วัสดุกราฟิก ช่วยแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาให้สามารถเปรียบเทียบได้
.............4.6 กระดานชอล์ก มีข้อดี คือ ต้นทุนในการผลิตและการใช้ต่ำ พื้นที่มีขนาดใหญ่
.............4.7 กระดานแม่เหล็ก มีข้อดีคือ สามารถนำเนื้อหาหรือรูปภาพที่ใช้แล้วกลับมาใช้ได้อีก

สื่อประเภทวัสดุสื่อการสอนประเภทที่ต้องใช้กับเครื่องฉาย
.....1. แผ่นโปร่งใส
.....2. สไลด์
.....3. ฟิล์มสตริม
.....4 ภาพยนตร์ วีดิทัศน์
.....5 โทรทัศน์ วงจรเปิด
.....6 โทรทัศน์ วงจรปิด

สื่อการสอนประเภทวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
.....1. แผ่นซีดี คอมแพ็คดิสก์
.....2. ซีดี-รอม
.....3. แผ่นซีดี-รอมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
.....4. วิทยุกระจายเสียง
.....5. สื่อประสมสื่อการสอนประเภทกิจกรรมหรือวิธีการ
.........5.1 การศึกษานอกสถานที่
.........5.2 การสาธิต
.........5.3 การจัดนิทรรศการ
.........5.4 การแสดงบทบาทสมมุติบทสรุปสื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่ครูนำมาประกอบการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

......สื่อการสอนประเภทวัสดุเป็นสื่อที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุคำว่า วัสดุตรงกับคำว่าภาษาอังกฤษว่า materal ซึ่งจอห์น ซินแคลร์ ให้ความหมายว่าวัสดุหมายถึง สิ่งที่มีคุณสมบัติ แข็งแรง ควบแน่น เป็นสารหรือสสารอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา

สื่อการสอนประเภทวัสดุ
......สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งที่ช่วยสอนที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง เช่น ฟิล์ม ภาพถ่ายภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของราคาสิ่งของหรือสสารที่ถูกนำมาใช้งานจะมีคุณสมบัติต่างๆ กันบางอย่างก็แข็งแรง บางอย่างก็ยืดหยุ่นดีบางอย่างแข็งเปราะ บางอย่างมีความทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า สื่อการสสอนประเภทวัสดุหรือ สื่อวัสดุซึ่ง เป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพซึ่งเป็น สื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพประเภทของสื่อวัสดุสื่อประเภทของวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนใน ปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่
.....สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะเป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างแบบแบนบางไม่มีความหนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ รูปภาพ ตัวหนังสือสื่อวัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนเช่น หุ่นจำลองสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์สื่อ

วัสดุกราฟิก
.....1. ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญคืองานกราฟิกได้แก่ ภาพเขียนทั้งทีเป็นภาพสี ภพขาวดำ ตัวหนังสือ เสนและสัญลักษณ์
.....2. คุณค่าของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกเป็นสื่อวัสดุ 2 มิติ ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ทางตาซึ่งถือว่าเป็นอวัยวะที่ปริมาณการรับรู้มากที่สุดเมื่อเทียบกับกี่รับรู้ด้วยประสาทรับสัมผัสด้านอื่นๆ สื่อวัสดุกราฟิกที่เห็นได้โดยทั่วไปมากมายรูปแบบ เช่น โปสเตอร์ หนังสือ วารสาร
.....3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก คือ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาการเรียนรู้
.....4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี คือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีรูปแบบง่ายต่อการเรียนรู้และการทำ ความเข้าใจไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนสื่อความหมายได้รวดเร็วชัดเจน
.....5. การออกแบบวัสดุกราฟิก คือ เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการออกแบบ
.....6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกสื่อวัสดุกราฟิกมีข้อดีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ดังนี้ คือ แสดงเนื้อห
านามธรรมที่ยากต่อความเข้าใจให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สามารถผลิตได้ง่ายไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษส่วนข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกได้แก่ ใช้ได้กับเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น การออกแบบและการผลิตไม่ดีอาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก

ประเภทของวัสดุกราฟิก
.......1. ประเภทของวัสดุกราฟิก
...........1.1 แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร
.................1.1.1 แผนภูมิต้นไม้
...........1.2 แผนภูมิแบบสายธาร
...........1.3 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
...........1.4 แผนภูมิแบบองค์การ
...........1.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
...........1.6 แผนภูมิแบบตาราง
...........1.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
...........1.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
.......2. แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
...........2.1 ชนิดของแผนสถิติ เปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะนำเสนอในรูปแบบของแผนสถิติแบบใดก็ได้
.................2.1.1 แผนสถิติแบบเส้น ข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
.................2.1.2 แผนสถิติแบบแท่ง ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบ เคียงกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นชุด
.................2.1.3 แผนสถิติแบบวงกลม ใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ ว่าเป็นเท่าไร
.................2.1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ เป็นการแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์
..................2.1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด
.......3. แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน
.......4. ภาพพลิก
.......5. ภาพชุด
.......6. แผนภาพ
.......7. ภาพโฆษณา
.......8. แผนโปร่งใสสื่อวัสดุ 3 มิติ
............8.1 ความหมายของสื่อวัสดุ 3 มิติหมายถึงสื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้างขวาง ความยาว ความหนาลึก
...........8.2 ประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
.................8.2.1 หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจำกัดไม่สามารถนำมาแสดงได้
.................8.2.2 ของจรอง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้ง
.................8.2.3 ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์ มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว
......9. ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์

.....ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์

ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
.........1. เทปบรรทุกเสียง ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
.........2. เทปวิดีทัศน์ ใช้บันทึกภาพและเสียง
.........3. แผ่นซีดี
.........4. แผ่นวีซีดี
.........5. แผ่นดีวีดี
.........6. แผ่นเอสวีซีดี
.........7. แผ่นเอ็กซ์วีซีดี
.........8 แผ่นเอ็กเอสวีซีดีบทสรุปสื่อประเภทวัสดุ เป็นสื่อที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บบรรจุความรู้และประสบการณ์ไว้เป็นอย่างดี บางชนิดสามารถสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองสื่อการเรียน ประเภทอุปกรณ์

Graphics for Friends Comments
สื่อกิจกรรม

.....ปัจจุบันสื่อนี้มีความหมายขยายขอบเขตกว้างขวางไปถึงกิจกรรมที่สามารถสื่อความรู้สึกนึกคิด ความรู้ อารมณ์ และเรื่องราวข่าวสารไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้ สื่อประเภทกิจกรรมมีได้มากมายหลายรูปแบบ เช่น การจัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม การแถลงข่าว การสาธิต การจัดริ้วขบวน การจัดนิทรรศการ การจัดแข่งขันกีฬา การจัดแสดง การจัดกิจกรรมทางการศึกษา การจัดกิจกรรมเสริมอาชีพ การจัดกิจกรรมการกุศล เป็นต้น
.....สื่อกิจกรรมนี้สามารถปรับปรุงดัดแปลงแก้ไขให้ยืดหยุ่น เหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ์ได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดคือ ผู้รับมีจำนวนจำกัดเฉพาะกลุ่มที่ร่วมกิจกรรมนั้นๆ เท่านั้น
จิตวิทยา (อังกฤษ: psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
คำว่า จิตวิทยา แปลมาจาก psychology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำนี้มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ “psyche” หมายถึงวิญญาณ ส่วน logos หมายถึง การศึกษาเล่าเรียน จากคำนิยามนี้แสดงให้เห็นว่า เดิมที่เดียวจิตวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณหรือเรื่องลึกลับ ต่อมานักปราชญ์ให้ความหมายของ psyche ว่า หมายถึง จิต ดังนั้น วิชาจิตวิทยาจึงเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องจิต
  • เพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก เชื่อว่า ร่างกายและจิตใจเป็น 2 สิ่ง ที่แยกขาดจากกันและจิตใจจะคงอยู่แม้จะตายไปแล้ว เพลโตมองเชิงบวกว่า การศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติพื้นฐานของจิตใจได้ ส่วนอริสโตเติลกลับมองบทบาทของการศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ไปในเชิงลบ
     
  • เดส์กาตส์ (Rene Descartes) นักปรัชญาและคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เชื่อในความเป็น 2 ส่วนของร่างกายและจิตใจ และยอมรับว่ามีสัมพันธภาพระหว่างร่างกายและจิตใจที่ปราศจากสิ่งรบกวน
     
  • คริสต์ศตวรรษที่ 18 นักปรัชญาชาวอังกฤษชื่อ ล็อค (John Locke) นำเสนอว่าความรู้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์จากอวัยวะรับสัมผัส และความคิด ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาโดยกำเนิด
     
  • คริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เวเบอร์ (E.H. weber) ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาจิตใจ จนพบความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างความเข้มข้นของสิ่งเร้า และผลที่เป็นประสบการณ์จากการสัมผัส
     
  • เวลาใกล้กัน เฟชเนอร์ (G.T. Fechner) บิดาแห่งจิตวิทยาเชิงปริมาณ นำเสนอจิตฟิสิกส์เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับโครงสร้างภายนอก และประสบการณ์จากประสาทสัมผัส
     
  • ต่อมาดาร์วิน (Darwin) เสนอวิวัฒนาการ กำเนิดสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาและความคิดมนุษย์
     
  • ปี คศ. 1879 วุนท์ (Wilhelm Wundt) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ก่อตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาแห่งแรกของโลก เพื่อพิสูจน์ว่า กิจกรรมทางสมองทุก ๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้น ย่อมมีกิจกรรมทางกายภาพเกิดขึ้นด้วย
     
  • นักจิตวิทยาชาวรัสเซียชื่อ พัฟลอฟ (Ivan P. Pavlov) ได้ค้นพบปฏิกิริยาสะท้อนที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned reflex)

จิตวิทยาคืออะไร
(WHAT IS PSYCHOLOGY)
ผศ.ดร.สิริวัฒน์  ศรีเครือดง[๑]


ความนำ
          จิตวิทยา คือวิชาว่าด้วยจิต เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฎการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต[๒]   จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นวิชาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์แขนงต่าง ๆ ได้แทบทุกศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับว่ามีความสำคัญและมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านส่วนตัวเอง ด้านครอบครัว ด้านเพื่อนร่วมงาน และด้านการประกอบอาชีพร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม เป็นต้น
          วิชาจิตวิทยามุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม (Behaviors) ของสัตว์โดยเฉพาะมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เราอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ประสบความสำเร็จ และดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุขตามอัตภาพของแต่ละบุคคล
          การที่ผู้เขียนมีแรงจูงใจที่ทำให้เขียนบทความเรื่อง จิตวิทยาคืออะไร  เพราะอยากจะให้ทราบถึงความหมายและความเป็นมาของจิตวิทยา จุดมุ่งหมาย ขอบข่ายและประโยชน์ของจิตวิทยา กอปรกับได้บรรยาวิชานี้กับนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ที่ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ทั้งในระดับปริญญาตรี ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาพุทธจิตวิทยา หรือสาขาวิชาจิตวิทยา และในระดับปริญญาโท หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย ก็ตามต่างก็ต้องทำความเข้าใจเรียนรู้เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ทั้งนั้น
          เพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับบัณฑิตทุกสาขาวิชา ระดับพุทธศาสตรบัณฑิต พุทธศาสตรมหาบัณฑิต พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต ของมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั่วประเทศ และเพื่อให้เกิดประโยชน์กับท่านผู้ที่กำลังอ่านบทความนี้ ผู้เขียนจึงเสนอหัวข้อที่คิดว่าเมื่ออ่านบทความจบแล้ว จะได้ประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไปได้เลย

ความหมายของจิตวิทยา
          คำว่า จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Psychology” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ คือคำว่า Psyche กับ Logos
            คำว่า Psyche หมายถึงวิญญาณ (Soul) กับคำว่า Logos หมายถึงวิชาการและการศึกษา (Study)
          ดังนั้น เมื่อทั้ง ๒ คำรวมกันจึงเป็นคำศัพท์ว่า Psychology มีความหมายว่าด้วยวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ สมัยกรีกโบราณซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาจิตวิทยา นักปราชญ์ในสมัยนั้นจึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบว่าวิญญาณ มีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างไรต่อการกระทำของมนุษย์ เป็นการศึกษาที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้
          ประมาณปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา นักจิตวิทยายุคใหม่จึงเปลียนแนวทางศึกษาพฤติกรรม (Behaviors) มนุษย์และสัตว์เฉพาะ และได้นำระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
          ในที่สุด  จิตวิทยา ได้รับการยอมรับให้เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์วิชาหนึ่ง (Applied Science) ในยุคนี้มีนักวิชาการทางจิตวิทยาได้ให้ความหมายคำจำกัดความของจิตวิทยาไว้หลายท่านด้วยกันแต่ขอยกมาพอสังเขปดังนี้
            วิลเลียม เจมส์ (William James; 1890)[๓]  ได้ให้คำจำความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยกิริยาอาการของมนุษย์
            นอร์แมน แอล. มันน์ (Norman L. Munn; 1969) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมโดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์
          จอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson; 1913) เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับจิตวิทยาไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม
            มอร์แกน (Morgan; 1971) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
            ฟิลแมน (Feldman; 1992) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต ด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
                วาเดและทาฟ์ริส (Wade & Tavris; 1998) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาสิ่งเหล่านี้ได้รับอิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกายและสิ่งแวดล้อมภายนอก
          เติมศักดิ์  คทวณิช  (๒๕๔๖) ได้สรุปความหมายของจิตวิทยาไว้ว่า “จิตวิทยาเป็นวิชาที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
                จากคำจำกัดความที่กล่าวมาทั้งหมด  จะเห็นว่า จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต (Behavior and Mental Processes) ของมนุษย์ โดยศึกษาว่าพฤติกรรมเหล่านั้นได้รับอิทธิพลอย่างไร จากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจ และสิ่งแวดล้อมภายนอก
          สรุปได้ว่า จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจ สามารถอธิบาย สามารถทำนาย กำหนดควบคุมพฤติกรรมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ความหมายของพฤติกรรมมนุษย์
          พฤติกรรมมนุษย์ประกอบด้วยศัพท์ ๒ คำ คือ พฤติกรรม และมนุษย์ ดังนี้
ความหมายของพฤติกรรม
ความหมายของมนุษย์
พฤติกรรม หมายถึง การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึกเพื่อตอบสนองสิ่งเร้า[๔]

พฤติกรรม หมายถึง สิ่งที่บุคคลกระทำแสดงออกมาเพื่อตอบสนอง หรือโต้ตอบสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ในสภาพการณ์ใด สภาพการณ์หนึ่ง[๕]

พฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมของบุคคลที่เป็นรูปธรรม เช่นการกระทำ การตอบโต้กับสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมภายในจิตใจที่เป็นนามธรรม เช่น ความคิด ความรู้สึก[๖]
มนุษย์ หมายถึง สัตว์ที่รู้จักให้เหตุผล,สัตว์ที่มีใจสูง,คน[๗]
มนุษย์ มีความหมายว่า จิตใจสูง[๘]
เป็นมนุษย์ หรือเป็นคน ?
      เป็นมนุษย์ เป็นได้     เพราะใจสูง
เหมือนหนึ่งยูง   มีดี         ที่แววขน
ถ้าใจต่ำ           เป็นได้    แต่เพียงคน
ย่อมเสียที        ที่ตน       ได้เกิดมา
      ใจสอาด     ใจสว่าง    ใจสงบ
ถ้ามีครบ         ควรเรียก   มนุสสา
เพราะทำถูก     พูดถูก      ทุกเวลา
เปรมปรีดา       คืนวัน      สุขสันติ์จริง

          ดังนั้น ผู้ที่จะรู้เรื่องจิตวิทยา จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องของพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้ทราบและเข้าใจว่าจิตวิทยาคืออะไร


ประเภทของพฤติกรรม (Behaviors)
          นักจิตวิทยา หลายท่านได้จัดประเภทของพฤติกรรมมนุษย์เป็น ๒ ประเภท ดังนี้
          ๑. พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) คือ การกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ พฤติกรรมภายนอกมี ๒ ลักษณะคือ
          ๑.๑ พฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้ายตาเปล่า เช่น การนั่ง การนอน การยืน การเดิน การกิน การพูด การหัวเราะ การร้องไห้ ฯลฯ พฤติกรรมแบบนี้เรียกว่า โมลาร์ (Molar)
          ๑.๒ พฤติกรรมภายนอกที่รับรู้ได้จากการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ เช่น คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ ความดันโลหิต การทำงานของชีพจร การทำงานของกระเพาะอาหาร การทำงานของลำไส้ เป็นต้น พฤติกรรมแบบนี้เรียกว่า โมเลคิวลาร์ (Molecular)
          ๒. พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) คือ กระบวนการทางจิต (Mental Behavior) พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง เช่น การคิด อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การลืม การวิเคราะห์หาเหตุผล ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
          จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ พฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอกอย่างเช่น พฤติกรรมภายในมีความยินดีและพึงพอใจกับสิ่งที่ปรารถนา ก็จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอกให้สังเกตเห็นได้จาก สีหน้า แววตา กิริยาท่าทาง ทางร่างกาย เป็นต้น
          ดังนั้น ในการที่จะเรียนรู้หรือทำความเข้าใจ ในการกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลคนหนึ่ง จำเป็นอย่างยิ่งต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมภายใน ประเภทอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ การวิเคราะห์หาเหตุผลต่าง ๆ ของคนคนนั้นให้ชัดเจนเสียก่อน
          เช่นเดียวกัน การจะเข้าใจพฤติกรรมภายในของมนุษย์ได้ก็จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้ จากพฤติกรรมภายนอกที่บุคคลนั้นแสดงออกมาก่อน ทั้งนี้ นักจิตวิทยาเชี่อว่า พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ และสาเหตุเพียงประการเดียวอาจทำให้เกิดพฤติกรรมได้ในหลายรูปแบบ ในทำนองเดียวกัน พฤติกรรมแต่ละรูปแบบที่แสดงพฤติกรรมออกมาย่อมเกิดมาจากหลายสาเหตุได้เช่นกัน  
          ยกตัวอย่างเช่น การร้องไห้ของคนสองคน คนหนึ่งอาจร้องไห้เพราะเสียใจจากการขาดทุนที่ลงทุนไปทำให้หมดทุนที่ลงไปเลยร้องไห้   ในขณะเดียวกันมีคนร้องไห้เหมือนกันแต่คนคนนั้นร้องไห้เพราะได้เจอกับครอบครัว เนื่องจากออกจากบ้านนาน เมื่อมาพบกันจึงเกิดความรู้สึกดีใจเลยร้องไห้ เป็นต้น

        การศึกษาเรื่องจิตในด้านต่าง ๆ เพื่อการดับทุกข์ การศึกษานั้นเรียกว่า การศึกษาจิตวิทยาในพระพุทธศาสนา (พุทธทาสภิกขุ)
          พระพุทธศาสนา ได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ[๙]
๑.   กายกรรม ๓ คือ พฤติกรรมที่แสดงออกทางการกระทำทางกายมี ๓ ประการคือ การไม่เบียดเบียน การแย่งชิงลักขโมย การละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น
๒.  วจีกรรม ๔ คือ พฤติกรรมที่แสดงออกทางการพูดมี ๔ ประการคือพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบคาย และพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ เช่นการพูดที่พูดแล้วคนฟังมีความสุข ความพึงพอใจ อย่างคำพูดที่ว่า คำพูดบางคำพูดเมื่อพูดแล้ว สามารถทำให้คนอื่นตายแทนผู้พูดได้ แต่ในขณะเดียวกัน คำพูดบาคำพูดเมื่อพูดแล้ว สามารถทำให้คนอื่นฆ่าผู้พูดได้เช่นกัน เป็นต้น
๓.  มโนกรรม ๓ คือ พฤติกรรมทางใจ มี ๓ ประการ คือ ไม่คิดละโมบ ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน และมีความเห็นถูกต้องรู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต

ประเภทของมนุษย์ (Human)
          มนุษย์ หมายถึง สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ที่มีใจสูง, คน   ส่วนท่านพุทธทาสภิกขุได้ให้ความหมายของคำว่ามนุษย์มีความหมายว่าจิตใจสูง[๑๐]
พระพุทธศาสนา ได้แบ่งมนุษย์เป็น ๒ ประเภท คือ[๑๑]
๑.     มนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกียวิสัย  ประกอบด้วย
          ๑.๑     อันธพาลชน หมายถึง   บุคคลที่มีระดับจิตใจที่ต่ำที่สุด      ชอบแสดง
                   พฤติกรรมต่าง ๆ ในทางชั่วร้าย ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี
          ๑.๒     พาลชน  หมายถึง บุคคลที่มีระดับจิตใจต่ำรองลงมา ชอบและกล้าทำใน
                   สิ่งที่ชั่วและหลงพอใจในสิ่งที่กระทำ  แต่ยังมีความรู้สึกสำนึกรับผิดชอบ
                   และกลัวเกิดโทษกับตนเอง
          ๑.๓     ปุถุชน  หมายถึง  บุคคลที่มีระดับจิตใจที่พัฒนาขึ้นมาบ้าง   คือมีความ
                   สำนึกผิดชอบชั่วดี รู้จักควบคุมความต้องการ รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักบาป
                   บุญคุณโทษ แต่ยังอาจหลงผิดพลาดไปตามเจตนาและควาต้องการของ
                   ตนอยู่
          ๑.๔     กัลยาณปุถุชน หมายถึง บุคคลผู้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างมีจริยวัตร มีความ
                   ประพฤติดีงาม สามารถควบคุมและระงับพฤติกรรมในทางที่ไม่ดีได้
          ๑.๕     กัลยาณชน  หมายถึง บุคคลผู้ที่มีความประพฤติในสิ่งที่ดีงาม      ทรง
                   คุณธรรม แต่ก็ยังมีความทุกข์
๒.     มนุษย์ที่มีจิตใจพัฒนาใรระดับสูงมาก คืออยู่ในระดับโลกุตรจิต ประกอบด้วย
          ๒.๑     พระโสดาบัน หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถควบคุมและทำลาย
                   ความชั่วร้ายได้อย่างเด็ดขาดและไม่มีความโน้มเอียงที่จะกระทำความ
                   ชั่ว
          ๒.๒    พระสกทาคามี  หมายถึง บุคคลที่ละกิเลสที่ผูกใจให้ยึดมั่นอยู่กับ
                   ความสุข ความทุกข์
          ๒.๓     พระอนาคามี  หมายถึง บุคคลที่ละความต้องการต่าง ๆ   รวมถึงความ
                   พยาบาทได้หมดสิ้น ไม่มีความขุ่นเคืองใจ
          ๒.๔     พระอรหันต์ หมายถึง บุคคลที่ละกิเลสที่ละเอียดได้อย่างเด็ดขาด

        การศึกษาเรื่องจิตในด้านต่าง ๆ เพื่อการดับทุกข์ การศึกษานั้นเรียกว่า การศึกษาจิตวิทยาในพระพุทธศาสนา (พุทธทาสภิกขุ)

ความเป็นมาของจิตวิทยา (History of Psychology)                                              
          วิชาจิตวิทยามีการศึกษาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว มีนักปรัชญาคนสำคัญ คือ อริสโตเติล (Aristotle; 322-384 ก่อนคริสต์กาล) และเพลโต (Plato; 347- 427 ก่อนคริสต์กาล) ได้ศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ ส่วนใหญ่เเชื่อตรงกันว่ามนุษย์มีส่วนประกอบสำคัญสองส่วน คือ ร่างกาย (body) กับวิญญาณ (soul) วิญญาณจะมีอิทธิพลเหนือร่างกาย เพราะจะคอยควบคุมให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ
          ดังนั้น การที่จะเข้าใจมนุษย์ได้จึงต้องอธิบายวิญญาณให้ชัดเจนก่อน แต่การอธิบายวิญญาณในยุคกรีกโบราณนั้น มักนิยมหาคำตอบเกี่ยวกับวิญญาณโดยใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลของตนเองผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาในขณะนั้น ทำให้ได้คำตอบไม่แน่นอนและไม่ชัดเจน  นักจิตวิทยาในยุคต่อมาจึงเรียกวิธีนี้ว่าอาร์มแชร์ (Armchair method) เพราะเป็นวิธีการหาคำตอบแบบนั่งอยู่กับที่ ไม่มีการค้าคว้า วิจัย ทดลอง หรือพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ให้เห็นจริง
          เมื่อวิทยาศาสตร์เจริญ มีผู้พยายามศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับวิญญาณแต่ก็ยังไม่ได้รับความรู้เพิ่มเติมแต่อย่างได จึงทำให้นักจิตวิทยาหันมาสนใจศึกษาเกี่ยวกับจิต (Mind) แทน
          ทฤษฎีแอนิมิซึม (Animism) เชื่อว่าจิตเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ นักปรัชญาชาวอังกฤษ จอห์น ล็อค (John Lock; 1632-1740) ได้พยายามศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับจิตของมนุษย์เรา ว่าจิตคือความรู้ตัว (Conscious) เขาเชื่อว่าจิตของมนุษย์เหมือนผ้าขาวบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมเป็นตัวที่ทำให้จิตของคนเราเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมเหมือนกับการแต้มสีลงบนผ้าขาว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จอห์น ล็อค ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของมนุษย์เราที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมว่ามีบทบาทต่อพฤติกรรมของมนุษย์เรา แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะได้รับความเชื่อถืออยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ตามหลักและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน
          ประมาณปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้ามา วงการวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการคัดค้านและวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาในสิ่งที่ไม่สามารถทอลอง ค้นคว้า พิสูจน์ได้จึงทำให้นักจิตวิทยายุกใหม่เปลี่ยนแนวทางการศึกษาจากจิตใจมาศึกษาพฤติกรรม ซึ่งสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ และนักจิตวิทยาได้นำเอาวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรม จนเป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์          ผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ได้แก่ วิลเฮล์ม แมกซ์ วุนต์ (Wilhelm Max Wundt; 1832-1920) นักจิตวิทยาชาวเยอรมันผู้ก่อตั้งกลุ่มจิตวิทยาในแนวทฤษฎีโครงสร้างของจิต (structuralism) โดยได้สร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาที่มีการทดลองตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกในโลก เมื่อปี ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลป์ซิก (Leipzing)[๑๒] ในประเทศเยอรมัน ในการสร้างทดลองทางจิตวิทยาของวุนต์มุ่งศึกษาพฤติกรรมภายใน และวิธีการที่นำมาใช้ในการศึกษายังมีข้อบกพร่อง จึงได้รับการวิจารณ์และคัดค้านอยู่บางประการ แต่อย่างไรก็ตามวุนต์ถือว่าเป็นนักจิตวิทยาการทดลองเป็นทางการคนแรก
          เมื่อเป็นเช่นนั้น จอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson; 1913) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) วัต สัน ไม่เห็นด้วยกับการศึกษาพฤติกรรมภายในและวิธีการที่วุนต์ใช้ศึกษาอยู่ วัตสัน มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้หรือพฤติกรรมภายนอก ซึ่งสามารถศึกษา ค้นคว้า และทดลองให้เห็นจริงได้เท่านั้น ผลงานการศึกษาของวัตสันนี้เองทำให้จิตวิทยาได้รับการยอมรับในวงการวิทยา ศาสตร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาว่าจิตวิทยาคือวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม (Behavior Science) จนถึงปัจจุบัน

จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา (Aims of Psychology)
          จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
          ๑. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก หรือพฤติกรรมภายใน ที่เรี่ยกว่า กระบวนการทางจิต  อันจะทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น
          ๒. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรม ทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ โดยนักจิตวิทยาทั้งหลายจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ เพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น
          ๓. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม หมายถึงการคาดคะแนผลที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
          ๔. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือหมดไป และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย
          ๕. เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของจิตวิทยา
๑.      ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
๒.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์
๓.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
๔.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
๕.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
๖.      ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
๗.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
๘.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง
๙.   ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต รู้วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น
๑๐. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
๑๑. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม (Social Perception)         ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ




บทสรุปของจิตวิทยา

          จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องกระบวนการของจิต และพฤติกรรม
ของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกของมนุษย์ที่เรี่ยกว่ากระบวนการทางจิต อันจะทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น สามารถอธิบายพฤติกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ  โดยนักจิตวิทยาทั้งหลายจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้สามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงปรารถนาให้ลดลงหรือหมดไป และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย และเพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จิตวิทยาเป็นวิชาที่ใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนาในโอกาสต่อไปจะเขียนบทความทางด้านวิชาพุทธจิตวิทยา เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าจิตวิทยาในพระพุทธศาสนามีความเป็นเลิศอย่างไร อย่างเช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า “การศึกษาเรื่องจิตในด้านต่าง ๆ  เพื่อการดับทุกข์ การศึกษานั้นเรียกว่า การศึกษาจิตวิทยาในพระพุทธศาสนา
ความรู้เบื้องต้นวิชาจิตวิทยา
ความรู้เบื้องต้นวิชาจิตวิทยา
1.ความหมายของวิชาจิตวิทยา
ความหมายของวิชา จิตวิทยามีผู้ให้ความหมายไว้มากมายแต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปดังนี้
จิตวิทยา มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Psychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche หมายถึง จิตวิญญาณ (Mind , Soul) กับคำว่า Logos หมายถึง ศาสตร์ วิชา วิทยาการ
( Science , Study )
ไซคี( Psyche ) เป็นชื่อเทพธิดาผู้เลอโฉมในนิยายปรัมปราของกรีก ได้อภิเษกกับกามเทพชื่อ( Cupid )ทั้งสองรักกันมานานไม่เคยแยกจากกัน ชาวกรีกจึงเห็นว่า Psyche เป็นวิญญาณนั่นเอง แต่สำหรับ Cupid นั้นถือว่าเป็นร่างกาย ทั้งวิญญาณและร่างกายต้องอยู่เป็นคู่กันเสมอ ไม่อาจจะพรากจากกันได้
ถ้าแปลตามรูปศัพท์ในภาษาอังกฤษ Psychology หรือจิตวิทยา หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ ( Psychology means the study of the soul ) ซึ่งในสมัยโบราณเชื่อกันว่า จิต หรือ วิญญาณ เป็นสิ่งที่ควบคุมกิริยาอาการต่าง ๆ ของร่างกาย และยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ การศึกษาเรื่องจิตวิญญาณดังกล่าวจึง เป็นศาสตร์ชั้นสูงของชาวกรีกเรื่อยมา ในระยะต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เริ่มเจริญก้าวหน้าขึ้น นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาจึงหันมาสนใจในเรื่องต่างๆ ที่สามารถพิสูจน์ได้และนั่นก็คือ การเริ่มต้นหันมาสนใจศึกษาจิตวิทยาในเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เราสังเกตได้และสามารถทดลองได้ ดังนั้นการศึกษาวิชาจิตวิทยาจึงถือเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง หรืออาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า การศึกษาวิชาจิตวิทยาเป็นการศึกษาศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral Sciences )
ความหมายของจิตวิทยาได้มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายหลายท่าน เช่น
จอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson) อธิบายว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม
วิลเลี่ยม เจมส์ ( William James ) อธิบายว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยกิริยา อาการ ของมนุษย์
ฮิลการ์ด ( HilGard ) อธิบายว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาในเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น พอสรุปความหมายของวิชาจิตวิทยาได้ดังนี้ จิตวิทยา คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมหรือกิริยาอาการของมนุษย์รวมถึงความพยายามที่จะศึกษาว่ามีอะไรบ้าง หรือตัวแปรใดบ้างในสถานการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดพฤติกรรม ต่างๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถ คาดคะเนหรือพยากรณ์ได้ ซึ่งจะช่วยลดพฤติกรรมเบี่ยงเบนอันก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต โดยใช้แนวทางหรือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์

2.ประวัติความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา
จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่มีคนสนใจมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณก่อนคริสต์กาล มีนักปรัชญาชื่อ พลาโต ( Plato 427347ก่อนคริสต์กาล ) อริสโตเติล ( Aristotle 384322 ก่อนคริสต์กาล ) ได้กล่าวถึงธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงปรัชญามากกว่าแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาในยุคนั้นเป็นแบบเก้าอี้โต๊ะกลมหรือเรียก ว่า Arm Chair Method เรียกจิตวิทยาในยุคนั้นว่า จิตวิทยายุคเก่า เพราะนักจิตวิทยานั่งศึกษาอยู่กับโต๊ะทำงาน โดยใช้ความคิดเห็นของตนเองเพียงอย่างเดียวไม่มีการทดลอง ไม่มีการวิเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น ต่อมาอริสโตเติลได้สนใจจิตวิทยาจึงได้ทำการศึกษาและ ได้เขียนตำราจิตวิทยาเล่มแรกของโลกเป็นตำราที่ว่าด้วยเรื่อง วิญญาณชื่อ
De Anima แปลว่า ชีวิต เขากล่าวว่า วิญญาณเป็นต้นเหตุให้คนต้อง การเรียนจิตวิทยา คนในสมัยโบราณจึงศึกษาจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่า วิญญาณจะสิงอยู่ในร่างกายของมนุษย์ขณะมีชีวิตอยู่ เมื่อคนสิ้นชีวิตก็หมายถึง ร่างกายปราศจากวิญญาณและวิญญาณออกจากร่างล่องลอยไปชั่วระยะหนึ่ง แล้วอาจจะกลับสู่ร่างกายอีกได้ และเมื่อนั้นคนผู้ นั้นก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกชาวกรีกจึงมีการคิดค้นวิธีการป้องกันศพไม่ให้เน่าเปื่อยที่เรียกว่า มัมมี่ เพื่อคอยการกลับมาของวิญญาณ
ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 11 - 12 ได้เกิดลัทธิความจริง ( Realism ) เป็นลัทธิที่เชื่อสภาพความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ และลัทธิความคิดรวบยอด ( Conceptualism ) ที่กล่าวถึงความคิดที่เกิดหลังจากได้วิเคราะห์พิจารณาสิ่งต่างๆ ถี่ถ้วน แล้ว จากลัทธิทั้งสองนี้เองทำให้ผู้คนมีความคิดมากขึ้นมีการคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง จึงเป็นเหตุให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจในทางวิทยาศาสตร์ และจึงเริ่มมาสนใจใน เรื่องจิตวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้นในขณะเดียวกันก็ยังสนใจศึกษาเรื่อง จิตมากขึ้นด้วย รวมทั้งให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจิตสำนึก ( Conscious ) อันได้แก่ การมีสมาธิ การมีสติสัมปชัญญะ และเชื่อว่าจะเป็นมนุษย์ได้จะต้องประกอบไป ด้วย ร่างกายกับจิตใจ จึงมีคำพูดติดปากว่า “A Sound mind is in a sound body” จิต ที่ผ่องใสอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ ความสนใจเรื่องจิตจึงมีมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า จิต สามารถแบ่งเป็นส่วนๆ ได้แก่
ความคิด ( Idea )
จินตนาการ ( Imagine )
ความจำ ( Memory )
การรับรู้ ( Concept )
ส่วนที่สำคัญที่สุดเรียกว่า Faculty of will เป็นส่วนหนึ่งของจิตที่สามารถสั่งการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกายต่อมา Norman L. Mumm มีความสนใจเรื่องจิต เขากล่าวว่า จิตวิทยา คือ การศึกษาเรื่องจิต ในปี ค.ศ. 1590 คำว่า Psychology จึงเป็นที่รู้จักและสนใจของคนทั่วไป
จอห์น ลอค ( John Locke ค.ศ. 1632 - 1704 ) ได้ชื่อว่าเป็น บิดาจิตวิทยาแผนใหม่ เขาเชื่อว่า ความรู้สึกตัว ( Conscious ) และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวที่มีอิทธิพลต่อจิต
ในศตวรรษที่ 19 เป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มีผู้คิดทฤษฎีต่าง ๆ ทางจิตวิทยาขึ้น มากมายและที่สำคัญคือ วิลเฮล์ม แมกซ์ วู้นท์ ( Wilhelm Max Wundt ค.ศ. 18321920 ) ได้สร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาและเริ่มมีการทดลองขึ้นที่ มหาวิทยาลัย Leipzig ประเทศเยอรมัน เขาได้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง ความรู้สึก การจิตนาการ การคิดหาเหตุผล จนได้รับสมญาว่า บิดาแห่งจิตวิทยาทดลองนับเป็นการเริ่มต้นในการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นต้นมา

3.วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา
1. การตรวจสอบตนเอง หรือการพินิจภายใน ( Introspection ) หมายถึง วิธีการให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเอง ด้วยการย้อนทบทวนการกระทำและความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีต ที่ผ่านมา แล้วบอกความรู้สึกออกมา โดยการอธิบายถึงสาเหตุและผลของการกระทำในเรื่อง ต่าง ๆ เช่น ต้องการทราบว่าทำไมเด็กนักเรียนคนหนึ่งจึงชอบพูดปดเสมอ ๆ ก็ให้เล่าเหตุหรือเหตุการณ์ในอดีต ที่เป็นสาเหตุให้มีพฤติกรรมเช่นนั้น ก็จะทำให้ทราบที่มาของพฤติกรรมและได้แนวทางในการช่วยเหลือแก้ไขพฤติกรรมดัง กล่าวได้
การตรวจสอบตนเอง จะได้รับข้อมูลตรงตามความเป็นจริงและเป็นประโยชน์ จากผู้ รายงานที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง หากผู้รายงานจดจำเหตุการณ์ได้แม่นยำ และมีความจริงใจในการรายงานอย่างซื่อสัตย์ไม่ปิดบัง และ บิดเบือนความจริง แต่หากผู้รายงานจำเหตุการณ์หรือเรื่องราวไม่ได้ หรือไม่ ต้องการรายงานข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบ ก็จะทำให้การตีความหมายของเรื่องราว หรือ เหตุการณ์ผิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
2. การสังเกต ( Observation ) หมายถึง การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริง อย่างมีจุดมุ่งหมาย โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว การสังเกตแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
2.1 การสังเกตอย่างมีแบบแผน ( Formal Observation ) หมายถึง การสังเกตที่มีการเตรียมการล่วงหน้า มีการวางแผน มีกำหนด เวลา สถานการณ์ สถานที่ พฤติกรรมและบุคคลที่จะสังเกต ไว้เรียบร้อย
2.2 การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน ( Informal Observation ) หมายถึง การสังเกตโดยไม่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือวางแผนล่วง หน้า แต่สังเกตตามความสะดวกของผู้สังเกต
การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลละเอียด ชัดเจน และตรงไปตรงมา เช่น การสังเกต อารมณ์ ความรู้สึกของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้เห็นพฤติกรรมได้ชัดเจน กว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น ๆ แต่การสังเกตที่ดีมีคุณภาพต้องมีส่วน ประกอบหลายอย่าง เช่น ผู้สังเกตจะต้องมีใจเป็นกลางไม่อคติหรือลำเอียงอย่าง หนึ่งอย่างใด และสังเกตได้ทั่วถึง ครอบคลุม สังเกตหลาย ๆ สถานการณ์หลาย ๆ หรือหลายๆ พฤติกรรม และใช้เวลาในการสังเกต ตลอดจนการจดบันทึกการสังเกตอย่างตรงไปตรงมา และแยกการบันทึกพฤติกรรมจากการ ตีความไม่ปะปนกัน ก็จะทำให้การสังเกตได้ข้อมูลตรงตาม ความเป็นจริงและนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย
3. การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี ( Case Study ) หมายถึง การศึกษารายละเอียดต่าง ๆที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ พิจารณา ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ ศึกษาต้องการทราบ ทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไข ปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทาง สร้างสรรค์ที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ พิจารณา ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ ศึกษาต้องการทราบ ทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไข ปรับปรุง ตลอดจนส่ง เสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทาง สร้างสรรค์
การสัมภาษณ์ที่ดี จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของผู้ที่ต้องการศึกษาตั้งแต่เรื่องประวัติเรื่องราวของครอบครัว ประวัติพัฒนาการ ประวัติสุขภาพ ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ความสนใจ ความถนัด เป็นต้น และในการรวบรวมข้อมูลอาจใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ เข้ามาช่วยด้วย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดสอบ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประมวลให้ได้ข้อมูลให้ละเอียดและตรงจุดให้มากที่สุด
4. การสัมภาษณ์ ( Interview ) หมายถึง การสนทนากันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีจุดมุ่ง หมาย ซึ่งการสัมภาษณ์ก็มีหลายจุดมุ่งหมาย เช่น การสัมภาษณ์เพื่อความคุ้นเคย สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ต่อ ตลอดจนสัมภาษณ์เพื่อการแนะแนวและการให้คำปรึกษา เป็นต้น แต่ทั้งการสัมภาษณ์ก็เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
การสัมภาษณ์ที่ดี จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า วางแผน กำหนดสถานที่ เวลาและเตรียมหัวข้อหรือคำถามในการสัมภาษณ์ และนอกจากนั้นในขณะสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ควรจะใช้เทคนิคอื่น ๆ ประกอบด้วยก็ยิ่งจะได้ผลดี เช่น การสังเกต การฟัง การใช้คำถาม การพูด การ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์ ก็จะช่วยให้การสัมภาษณ์ได้ดำเนินไปด้วยดี
5. การทดสอบ ( Testing ) หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะ พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง หรือหลาย ๆ พฤติกรรม โดยให้ผู้รับการทดสอบเป็นผู้ตอบสนองต่อแบบทดสอบซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบภาษาและแบบปฏิบัติการหรือลงมือทำ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นตามจุดมุ่งหมายที่ผู้ทดสอบวางไว้แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการทดสอบหาข้อมูลก็ได้แก่ แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบทดสอบความสนใจ เป็นต้น
การทดสอบก็มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อผลของข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งแบบทดสอบที่นำมาใช้ควรเป็นแบบทดสอบที่เชื่อถือได้เป็นมาตรฐาน ตลอดจนการแปรผลได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
6. การทดสอบ ( Experiment ) หมาย ถึง วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ มีขั้นตอนและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้ ตั้งปัญหา ตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล การทดสอบสมมุติฐาน การแปลความหมายและรายงานผล ตลอดจนการนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมต่อไปการทดลองจึงเป็นการ จัดสภาพการณ์ขึ้นมาเพื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบ เทียบกลุ่มหรือ สถานการณ์ คือ
1. กลุ่มทดลอง ( Experiment Group ) คือ กลุ่มที่ได้รับการจัดสภาพการณ์ทดลองเพื่อศึกษาผลที่ปรากฏจากสภาพ นั้น เช่น การสอนด้วยเทคนิคระดมพลังสมองจะทำให้กลุ่มเกิดความคิดสร้างสรรค์ หรือไม่
2. กลุ่มควบคุม ( Control Group ) คือ กลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดสภาพการณ์ใด ๆ ทุกอย่างถูกควบคุมให้คงภาพเดิม ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง สิ่งที่ผู้ทดลองต้องการศึกษาเรียกว่า ตัวแปร ซึ่งมีตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น ( Independent Variable ) และตัวแปรตาม ( Dependent Variable )
4.ขอบข่ายของวิชาจิตวิทยา
ในอดีตจิตวิทยาแบ่งออกเป็นจิตวิทยาทั่วไป ( General Psychology ) กับจิตวิทยาประยุกต์
( Applied Psychology ) ในปัจจุบันจิตวิทยาสามารถแยกออกได้หลายแขนงดังนี้
1.จิตวิทยาสรีระ( Physiological Psychology ) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางสรีรวิทยาและกระบวนการทางจิตใจ
2.จิตวิทยาพัฒนาการ( Developmental Psychology ) จิตวิทยา แขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาความรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและกลไกในการ พัฒนาการในอินทรีย์ที่ดำเนินต่อเนื่องกันไปตั้งแต่เริ่มปฎิสนธิจนปิดฉาก พัฒนาการชีวิต
3.จิตวิทยาบุคลิกภาพ( Personality Psychology ) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาและสังเกต พัฒนาการของมนุษย์ในด้านต่างๆทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอกให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตน พัฒนาจิต เข้าใจปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อบุคลิกภาพทฤษฎีบุคลิกภาพ และการพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่ดี
4.จิตวิทยาคลีนิก ( Clinical Psychology ) จิตวิทยา แขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาว่าบุคคลเมื่อ ประสบปัญหาแล้วเขาเหล่านั้นจะมีวิธีการจัดการกับปัญหาอย่างไรและการหาวิธี การที่จะช่วยให้บุคคลเหล่านั้นแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการต่างๆ ทางจิตวิทยา เช่นเทคนิคการให้คำปรึกษาซึ่งช่วยแก้ปัญหาในด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัวและสังคมเป็นต้น
5.จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาในโรงเรียน( Educational Psychology ) จิตวิทยา แขนงนี้ มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาใช้ประยุกต์ช่วยในเรื่องการเรียนการสอนทำให้ผู้สอนเข้า ใจพฤติกรรมเด็ก โดยมุ่งแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดกับเด็กเพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาของตน ได้และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนในการเลือกที่จะเรียนและเลือกอาชีพต่อ ไป จิตวิทยาการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องประสิทธิผลของการสอน การศึกษา การเรียนรู้ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
6.จิตวิทยาอุตสาหกรรม( Industrial Psychology ) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาการทำงานในระบบทำงานซึ่งมีขั้นตอนระเบียบแบบแผนและที่สำคัญคือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้คนอย่างมีความสุข ช่วยให้บุคคลสามารถแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจมีอยู่ในระดับน้อยและสามารถพัฒนาตนไปสู่ความสำเร็จของงานได้ตามเป้าหมาย ซึ่งทำให้ผลผลิตของอุตสาหกรรมสูงขึ้น รวมถึงการมีจิตวิทยาต่อผู้บริโภคด้วย โดยเน้นการสำรวจเจตคติและความชอบของผู้บริโภคต่อสินค้านั้นๆ
7.จิตวิทยาการวัดผลและการทดสอบ( Psychometric Psychology ) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลความเชื่อถือ ดังนั้นจิตวิทยาการวัดผลจึงมุ่งในเรื่องทฤษฎีและการพัฒนาแบบทดสอบรวมทั้ง วิธีการวัดผลต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในเชิงจิตวิทยา
8.จิตวิทยาสังคม( Social Psychology ) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาวิธีการวัดและลักษณะส่วนใหญ่ของพฤติกรรมมนุษย์ โดยเน้นที่การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมระหว่างบุคคลที่สัมพันธ์กัน
9.จิตวิทยาวิศวกรรม ( Engineering Psychology ) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาความ ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้นักวิชาการเหล่านี้พยายามที่จะศึกษาค้นคว้าทดลองสร้างเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อการใช้ เพื่อแสวงหาความรู้ต่างๆ ของมนุษย์ต่อไปโดยทำให้เกิดความแน่ใจว่าเครื่องมือต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นสามารถสอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์
10.จิตวิทยาชุมชน ( Community Psychology ) จิตวิทยา แขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาชุมชนและความต้องการของชุมชนในรูปของลักษณะและ พฤติกรรมชุมชนเพื่อช่วยป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยเฉพาะปัญหา เรื่องสุขภาพจิต

5.กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา
แนวความคิด แรกเริ่มของผู้ศึกษาจิตวิทยานั้นเริ่มมาจากแนวความคิดทางปรัชญาเป็นแกนหลัก แต่ต่อมาเมื่อระยะผ่านไปจนถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จิตวิทยาได้มีการเปลี่ยนแนวทางการศึกษามาเป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น จึงทำให้วิชาจิตวิทยานั้นมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดแนวความคิดทางจิตวิทยาที่หลากหลายต่าง ๆ กันออกไป ซึ่งในแต่ละกลุ่มนั้นมีแนวความคิดที่มีความแตกต่างกันในประเด็นหลัก 3 ประเด็น คือ
1. สิ่งที่สนใจศึกษาหรือจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าแตกต่างกัน เนื่องจากความเชื่อและความเข้าใจของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน
2. วิธีการในการศึกษาค้นคว้าแตกต่างกัน
3. ยึดทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ในการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์แตกต่างกัน


ด้วยเหตุแห่งความต่างทั้ง 3 ประเด็นหลักนี้จึงทำให้สามารถแบ่งกลุ่มแนวความคิดทางจิตวิทยาได้ ดังนี้
1.แนวคิดกลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism) หรือกลุ่มโครงสร้างนิยม
2.แนวคิดกลุ่มหน้าที่ของจิต ( Functionalism )
3.แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
4.แนวคิดกลุ่มจิตวิเคระห์ (Psychoanalysis)
5.แนวคิดกลุ่มจิตวิทยาเกสตัลต์ (Gestalt Psychology)
6.แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)


5.1แนวคิดกลุ่มโครงสร้างของจิต ( Structuralism )
แนวคิดกลุ่มโครงสร้างทางจิต เชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วย ร่างกาย ( body ) และจิตใจ
( mind ) ซึ่งต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ต่างทำงานสัมพันธ์กัน พฤติกรรม ( Behavior ) ของบุคคลเกิดจากการกระทำของร่างกาย ซึ่งการกระทำของร่างกายนั้นย่อมเกิดจาก การควบคุมและสั่งการของจิตใจซึ่งเกิดจากจิตธาตุ กลุ่มนี้เชื่อว่า โครงสร้างของจิตประกอบด้วยจิตธาตุ ( Mental Elements ) ซึ่งประกอบด้วย ธาตุ 3 ชนิด คือ
1. การรับสัมผัส ( Sensation)
2. ความรู้สึก ( Feeling )
3. จินตนาการ ( Image )
เมื่อ จิตธาตุทั้ง 3 นี้ มาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิด รูปจิตผสมขึ้น ทำให้เกิด
ความคิด ( Thinking )
อารมณ์ ( Emotion )
ความจำ ( Memory )
การหาเหตุผลหรือสาเหตุ ( Reasoning )

กลุ่มโครงสร้างของจิต หรือ Introspective Psychology หรือบางทีเรียก โครงสร้างนิยมหรือ กลุ่มแนวความคิดโครงสร้าง หรือ แนวทัศนะโครงสร้างแห่งจิต ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน เมื่อ ค.ศ.1879 ผู้ก่อตั้งคือ วิลเฮล์ม แมกซ์ วู้นท์ (Wilhelm Max Wundt) มีรากฐานของแนวความคิดพื้นฐานเบื้องต้น จากแนวความคิดของนักปรัชญาคนสำคัญๆ หลายคน เช่น









ภาพ Wilhelm Max Wundt

แนวความคิดของเพลโต ( Plato ) อธิบายว่ามนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์ตรงที่มนุษย์ประกอบด้วยจิต ( mind ) ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างแนวความคิด ( Idea )
แนวความคิดของอริสโตเติล ( Aristotle) อธิบายเกี่ยวกับเรื่องชีวิตจิตใจ ( Mental Life )
แนวความคิดของเดสคาร์ทีส ( Descartes ) อธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของร่างกาย (Body ) กับ จิต ( Mind ) ว่ามนุษย์ประกอบขึ้นด้วยร่างกายและจิต ทั้งสองส่วนนี้จะทำงานเกี่ยวข้องกันโดยจิตทำหน้าที่สร้างภาพพจน์จากการทำงานของร่างกาย การทำงานของร่างกายจึงเป็นการทำงานตามแนวความคิดที่เกิดขึ้นในจิต นั่นเอง
จากแนวความคิดทั้ง 3 ทำให้เกิด ลัทธิสัมพันธ์นิยม ( Associationism ) ขึ้น และต่อมาได้พัฒนากลายเป็นกลุ่มจิตวิทยา Structuralism หรือเรียกกันอีกอย่างว่า แนวทัศนะวิธีพินิจภายใน
( Introspectionism ) เนื่องจากนักจิตวิทยากลุ่มนี้ใช้วิธีการพินิจภายใน หรือการตรวจสอบภายใน
( Introspection ) เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าและด้วยเหตุนี้กลุ่มนี้จึงถูกโจมตีมาก เพราะดูไม่น่าเชื่อถือเมื่อบุคคลมีปัญหา บุคคลจะมานั่งสำรวจตนเองว่าตนมีข้อบกพร่องอะไรคงเป็นไปได้ยาก มีหลายคนที่มักเข้าข้างตนเองจึงทำให้ไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง
วิลเฮล์ม แมกซ์ วู้นท์ ( Wilhelm Max Wundt ) ผู้ให้กำเนิดห้องปฏิบัติการหรือห้องทดลอง ทางจิตวิทยา ( Psychological Laboratory ) เป็นแห่งแรก ได้รับฉายาว่า บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลองและกัสแตฟ เฟชเนอร์ ( Gustav Fechner ) ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ได้กำหนดระเบียบและวิธีการทดลอง ( Experimental method)ได้นำเอาความรู้ความเข้าใจวิชาฟิสิกส์มาใช้ในการทดลอง ค้นคว้าวิชาจิตวิทยา ซึ่งเรียกว่าไซโคฟิสิกส์ ( Psychophysics ) ก็ตาม จิตวิทยากลุ่มนี้ก็ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์นัก เพียงแต่ยอมรับกันว่า เป็นกลุ่มแรกที่มีแนวคิดเป็นวิทยาศาสตร์ และยังถือว่าเป็นกลุ่มจิตวิทยาที่อาศัยแนวความคิด และระเบียบวิธีการศึกษาตามแบบปรัชญา ( Philosophical - Psychology ) อยู่เพราะแนวความคิดส่วนใหญ่กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism) ได้อาศัยระเบียบวิธีการสำรวจตนเองหรือการตรวจสอบตนเอง ( Introspection method ) หรือระเบียบวิธีการแบบอัตนัย ( Subjective method )
การใช้วิธีตรวจสอบตนเองหรือการสำรวจตนหรือการพินิจภายใน เป็นเครื่องมือที่ ศึกษาค้นคว้าหาความจริงทางจิตวิทยาไม่สู้จะได้ผลดีนัก เพราะว่าผู้ถูกทดสอบอาจตอบตามสิ่งเร้ามากกว่าตอบตามความรู้สึกที่ตนได้สัมผัสจริงๆ ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า Stimulus - Error แต่กลุ่ม Gestalt Psychology ไม่เห็นด้วยกับกลุ่ม Structuralism ที่ว่าจิต ประกอบด้วยส่วนต่างๆ จึงให้ชื่อกลุ่มนี้ว่า กลุ่ม Mortar & Brick Psychologist ซึ่ง Mortar แปลว่า ซีเมนต์ที่ผสม กับทรายได้ส่วนสัด แล้ว Brick หมายถึง อิฐ พวกเหล่านี้ประกอบขึ้นเป็นตึกเหมือนจิตประกอบขึ้นจากส่วนต่าง ๆ
Wtlhelm Max Wundt ผู้นำกลุ่ม Structuralism ได้นำเอาแบบของวิชาเคมีมาใช้ในวิชาจิตวิทยาและ พยายามนำแนวคิดของนักเคมีซึ่งเน้นหนักในเรื่อง องค์ประกอบของจิตเทียบกับองค์ประกอบของธาตุต่างๆ ของเคมีเช่นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสารซึ่งในเมื่อมวลสารทั้งหลายสามารถนำมาวิเคราะห์ออกได้เป็นอนุภาคที่เล็กมากจนเรามองไม่เห็น เขาเชื่อว่าจิตของคนนั้นก็น่าจะแยกให้เห็นจริงๆ ได้ และเขามีแนวคิดว่า จิต ( mind ) มีองค์ประกอบอิสระต่าง ๆ รวมกันเป็นโครงสร้างแห่งจิต ( Faculty of mind ) จิตเป็นโครงสร้างที่มาจากองค์ประกอบทางเคมี โดยมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง กันเป็นจิตเรียกว่า จิตธาตุ” ( Mental Elements ) นั่นคือพยายามที่จะค้นให้พบว่าจิต ( mind ) ประกอบด้วยอะไรบ้าง หัวข้อสำคัญที่จิตวิทยากลุ่มนี้มุ่งศึกษาอย่างแท้จริง คือ องค์ประกอบที่สำคัญของจิตในส่วนที่เรียกว่า จิตสำนึก ( The Contents of Consciousness ) โดยเฉพาะเท่านั้น ดังนั้นกลุ่ม Structuralism จึงอยู่ในจิตวิทยากลุ่ม จิตนิยม ( Mentalism ) ด้วย


แนวคิดจิตวิทยากลุ่มโครงสร้างของจิต( Structuralism ) มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญคือ
1. ความเชื่อในเรื่ององค์ประกอบของบุคคล ซึ่งนักจิตวิทยายอมรับว่า บุคคล ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ โดยจิตใจยังแบ่งย่อยๆได้ เช่น ส่วนเกี่ยวกับการคิด ส่วนที่เกี่ยวกับความจำส่วนที่เกี่ยวกับความรักสวยรักงาม เป็นต้น
2. การยอมรับเอาระเบียบวิธีการที่ว่าด้วย การแยกจิตออกฝึกเป็นส่วน ๆ ( Method of Mental of Formal Discipline ) สามารถนำมาใช้ในการจัดการศึกษา นักการศึกษาเชื่อว่าบุคคลมีลักษณะอย่างเดียวกับวัตถุ ( Material ) หรือเครื่องจักรกล หากต้องการฝึกจิตธาตุส่วนใดให้มีความสามารถต้องฝึกฝน เรื่องนั้นโดยเฉพาะ เช่น ด้านความจำ ก็ต้องฝึกให้ท่องจำ ด้านการคิดต้องให้ เรียนวิชาที่ส่งเสริมการคิดต่างๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นต้น ทั้งนี้เพราะความเชื่อที่ว่าจิตของคน เราแยกออกเป็นส่วนๆ ดังนั้นถ้าต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถมีทักษะทางใดก็ต้องมุ่งฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ


5.2 แนวคิดกลุ่มหน้าที่ของจิต ( Functionalism )
กลุ่มหน้าที่ของจิตเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1900 ผู้ให้กำเนิดหรือผู้นำกลุ่มคือ จอห์น ดิวอี้ ( John Dewey 18591952 ) คณบดีคณะวิชาการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยชิกคาโก วิลเลี่ยม เจมส์ ( William James 18421910 ) ศาสตราจารย์จิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนตำราจิตวิทยา ชื่อ Principles of Psychology และ วูดเวอร์ธ ( Woodworth) และเจมส์ แองเกลล์ ( James Angell )





ภาพ William James (ค.ศ. 1842-1910) ภาพ Charles Darwin (ค.ศ. 1809-1882)

จิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวความคิดมาจาก ลัทธิปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม ( Pragmatism ) และทฤษฎีที่สำคัญทางชีววิทยา อันได้แก่ ทฤษฎีที่ว่าด้วยวิวัฒนาการ ( Theory of Evolution ) ของCharles Darwin ซึ่งเขียนไว้ใน หนังสือ Origin of Species เมื่อ ค.ศ. 1859 ดังนั้นกลุ่มFunctionalism จึงเกิดจากการรวมกันระหว่างทฤษฎีของดาร์วิน ( Darwinian theory ) กับ ลัทธิปรัชญาที่เน้นความสำคัญของการปฏิบัติจริง ( Pragmatic Philosophy ) ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายว่าสัตว์ที่ดำรงพันธุ์อยู่ได้ จะต้องต่อสู้และปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเห็นว่า ในการที่จะให้เข้าใจถึงการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตนั้น ควรต้องศึกษาถึงหน้าที่ของจิตต่อการปรับตัวภายใต้จิตสำนึกมากกว่า กลุ่ม Functionalism สนใจ เรื่องพฤติกรรมมาก เรื่องที่เน้นหนักจริง ๆ ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ กลุ่มนี้มีแนวคิดมุ่งหนักไปใน ด้าน หน้าที่ ( the functions ) ของจิต มากกว่าจะศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างของจิต แต่สนใจว่าจิตทำหน้าที่อะไร ทำอย่างไรจึงจะศึกษาทั้งกระบวนการทางจิต และสถานะของจิตพร้อมกับอากัปกิริยาที่แสดงออกให้ปรากฏทางกาย กล่าวคือในการศึกษาพฤติกรรมนั้นจะสนใจ ศึกษาทั้งอากัปกิริยาที่แสดงออกภายนอก และความรู้สึกภายใน กระบวนการปรับตัว ของกายให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม สัญชาติญาณเชื่อว่าจิตมีหน้าที่ควบคุมการกระทำกิจกรรมของร่างกาย คำว่าจิต ตามความคิดของพวก Functionalism นั้นก็คือ กระบวนการกระทำกิจกรรมของร่างกายในอันที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม นั้นเอง วิชาจิตวิทยานั้นคือวิชาที่ศึกษาถึงสถานะของจิตและในขณะเดียวกันการ ที่จะศึกษาแต่จิตและกระบวนการปรับตัวของจิตแต่อย่างเดียวยังไม่พอเพียง เราจะต้องศึกษาถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ประกอบด้วยเรื่องสัญชาติญาณ ( Instinct ) ซึ่งนับเป็นหลักใหญ่ของพวก Functionalism นี้ด้วยผู้ที่จะมีความสุขใน สังคมได้ก็จะต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่าดี จึงควรตระหนักถึงหลักสำคัญเรื่องการปรับตัวของร่างกาย ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมกลุ่มนี้มีความเห็นว่า การศึกษาจิตวิทยานั้นควร ศึกษาจิตสำนึกในลักษณะของการใช้ประโยชน์นั่นคือศึกษาจิตในรูปของการกระทำ กิจกรรมต่าง ๆ ในอันที่จะทำให้มนุษย์ปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนปรับตัวดีขึ้นจะเห็นว่าลักษณะสำคัญของ กลุ่ม Functionalism มีส่วนคล้ายกับกลุ่ม Structuralism อยู่ 2 ประการคือ ทั้ง 2 กลุ่มต่างก็ เป็นจิตวิทยาในกลุ่มจิตนิยม ( Mentalism ) และอาศัยระเบียบวิธีทางปรัชญา ( Philosophical Psychology ) เช่นเดียวกัน และต่างมุ่งศึกษาเฉพาะจิตที่รู้สำนึก ( Consciousness ) เช่นกัน
ส่วนที่แตกต่างกันคือ กลุ่ม Structuralism มีความสนใจมุ่งศึกษาให้เข้าใจ ส่วนประกอบของจิตหรือจิตธาตุ ส่วนกลุ่ม Functionalism มุ่งศึกษาให้เข้าใจ หน้าที่ของจิตกระบวนการทางสมองเช่นการนึก คิด เป็นหน้าที่ของจิตที่บัญชาให้ บุคคลปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเข้ากับตนเป็นต้นว่าสวมเสื้อผ้าเพราะจิตสั่ง ให้สวมเพื่อความอบอุ่นและเข้ากับสภาพสังคม นั่นคือ เป็นหน้าที่ หรือ Function ของมนุษย์ที่จะต้องทำ สิ่งที่บังคับให้ทำก็คือความต้องการที่ จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตน จึงพอสรุป หน้าที่ของจิตได้ว่า จิตมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการกระทำกิจกรรมของร่างกายในอันที่จะปรับตัว ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม Dewey เชื่อว่าการคิดของมนุษย์มุ่งเพื่อการแก้ ปัญหา เพื่อลดความเครียดและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นถึงแม้ ว่า William James ( 18421910 ) เชื่อว่า สัญชาตญาณ ( Instinct ) เป็นลักษณะหรือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แต่ John Dewey ( 18591952 ) เชื่อว่าประสบการณ์ ( Experience ) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม R.S. Woodworth ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนอง ก็สรุปคือแนวความคิดของกลุ่ม Functionalism ได้ว่ามี 2 ประการคือ
1. การกระทำทั้งหมด ( The total activities ) หรือการแสดงออกของคนเราเป็นการแสดงออกเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในการศึกษาจิตใจคน ก็ต้องศึกษาการแสดงออกของเขาในสถานการณ์นั้น ๆ
2. การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดขึ้นอยู่หรือเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของแต่ละคน ( The experience individual ) เสมอ พฤติกรรมของคนจึงแตกต่างกัน
นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงมุ่งศึกษาวิธีการเรียนรู้ การจูงใจ การแก้ปัญหา ตลอด จนความจำของคน เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
แนวคิดของกลุ่ม Functionalism มีอิทธิพลมากต่อวงการศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากความ มุ่งหมายของการศึกษาประการหนึ่งก็คือ เพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยความผาสุกและ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นบุคคลต้องศึกษาเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสังคม การอบรมเลี้ยงดู ( Socialization) และการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติเป็นปรัชญาการศึกษาซึ่งได้ กลายมาเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่สำคัญว่า การศึกษาคือปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมวิธีการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์มากที่สุด จึงจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจ

5.3 แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )
กลุ่มพฤติกรรมนิยมมีผู้นำของกลุ่มคือ จอห์น บี วัตสัน ( John B Watson, 18781958 ) เป็นผู้มีความคิดค้านกับแนวคิดของกลุ่มโครงสร้างของจิต ที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วยวิธีการย้อนไปตรวจสอบตนเอง ( introspection ) เพราะ เขาเห็นว่าวิธีการตรวจสอบตนเองค่อนข้างอคติและยังไม่เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพราะผลที่เกิดมักมีแนวโน้มที่เกิดจากเจตคติส่วนบุคคลไปในทางใด ทางหนึ่งแล้วแต่ความรู้สึกของผู้ศึกษาเอง จอห์น บี วัตสัน เห็นว่าควรใช้วิธีการที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ที่เห็นได้และเขาเป็นผู้เสนอให้ มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านที่สังเกตและมองเห็นได้




ภาพ John B. Watson (ค.ศ. 1878-1958) ภาพ Ivan P. Pavlov (ค.ศ. 1849-1936)
การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในแนวใหม่ของวัตสัน จึงได้จัดเป็นวิธีการศึกษาใน ลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ กล่าวโดยสรุป แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นว่าพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุและสาเหตุนั้นอาจมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ ได้มากระทบอินทรีย์หรือร่างกาย จึงทำให้อินทรีย์มีพฤติกรรมตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมจึงศึกษาพฤติกรรมด้วยวิธีทดลอง และการสังเกตอย่างมีระบบและสรุปว่าการวางเงื่อนไข ( Conditioning ) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรม และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เกิดได้จากการเรียนรู้มากกว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากศึกษา พฤติกรรมการเรียนรู้ของสัตว์ที่ถูกทดลอง สามารถช่วยให้เราเกิดความเข้าใจและ เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล กลุ่มแนวคิดนี้ใช้วิธีการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วยวิธีการทดลองประกอบกับ วิธีการสังเกตอย่างมีแบบแผน นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมนี้ศึกษาเฉพาะ พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ดัง นั้นกลุ่มนี้ จะไม่ยอมรับวิธีการศึกษาแบบสังเกตตนเอง โดยกล่าวหาว่าการสังเกตตนเองไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่น่าเชื่อถือ แต่กลุ่มนี้ มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ โดยเชื่อว่าเขาจะทราบถึงเรื่อราว ของจิตก็โดยการศึกษาจากพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น

นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมได้อธิบายแนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ 3 ประการ คือ
1.การวางเงื่อนไข ( Conditioning ) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังการทดลอง ของ Pavlov และ Skinner เชื่อว่าสามารถใช้วิธีฝึกฝนอบรมที่เหมาะเพื่อฝึก เด็กให้มีพฤติกรรมตามที่เราปรารถนาได้ โดยใช้วิธีการวางเงื่อนไขกับเด็ก เพื่อให้เกิด พฤติกรรมอันเป็นผลจากการเรียนรู้มากกว่าสัญชาติญาณ หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
2. พฤติกรรมของคนที่ปรากฏขึ้นส่วนมาก เกิดจากการเรียนรู้มากกว่าจะเป็นไปเองตาม ธรรมชาติ ( Behaviorism was its emphasis on Iearned rather than unlearned ) ดังการทดลองของ Watson โดยอินทรีย์ถูกวางเงื่อนไขให้แสดงปฏิกิริยาตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น การตอบสนองนี้อาจเกิดจากกลไกของสรีระ คือต่อมต่าง ๆ ประสาท กล้ามเนื้อ และพฤติกรรมอันสลับซับซ้อนของอินทรีย์นั้น เป็นผลรวมของ ปฏิกิริยาตอบสนองย่อย ๆ ที่เชื่อมโยงกันในรูปต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนเรียกจิตวิทยาเชิงเร้าและการตอบสนอง ( Stimulus Response Psychology )
3. การเรียนรู้ของคนกับสัตว์ไม่ต่างกันมาก การทดลองกับสัตว์เป็นการง่ายกว่าที่จะทดลองกับคนสามารถเรียนรู้เรื่องของคนโดยการศึกษาจากสัตว์ได้เป็นอันมาก ( We can lesrn much about man by the study of animals ) เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนได้จากการศึกษา พฤติกรรมของสัตว์ นักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ เอดเวิด ธอร์นไดด์ ( Edward Thorndike ) และ คลาร์ก แอล ฮุลล์ ( Clark L. Hull ) จึงได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ขึ้นโดยอาศัยจากการ ทดลองกับสัตว์
เปรียบเทียบกับกลุ่ม Structuralism และ Functionalism เห็นว่า 2 กลุ่มนั้น มุ่งศึกษาเฉพาะจิตที่รู้สึกนึกและเป็นการศึกษาจากภายใน ของสิ่งที่มีชีวิต ออกมาข้างนอก ส่วนกลุ่ม Behaviorism มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็น ได้ ( Observable Behavior ) เป็นการศึกษาจากภายนอกของสิ่งที่มีชีวิตเพื่อจะเข้าใจข้างใน 2 กลุ่มแรก ใช้ระเบียบวิธีการสังเกตตนเอง ( Introspection method ) ซึ่งเป็นวิธีการแบบอัตนัย ( Subjective method ) ส่วนกลุ่ม Behaviorism ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific method ) หรือระเบียบวิธีแบบปรนัย ( Objective Method )มุ่งปรับปรุงเนื้อหาสำคัญของวิชาจิตวิทยาให้ได้มาตรฐานเดียวกันกับวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ ให้เห็นว่า จิตวิทยาคือหมวดความรู้ที่ว่าด้วยพฤติกรรม “ ( Psychology as a science of behavior ) เพื่อให้เข้าใจง่ายและสรุปแนวทัศนะเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. กลุ่ม Behaviorism ปรับปรุงใหม่ทั้งด้านเนื้อหา ( Content of Subject matter ) ระเบียบวิธี ( Method ) เป็นวิทยาศาสตร์และเหมือนวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ
2. มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้ หรือสามารถวัดได้ ( Observable or Measurable Behavior ) ศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับกลไกทางสรีรวิทยา ( Physiological mechanisms ) เช่นการทำงานของต่อม ระบบประสาท กล้ามเนื้อ
เขาแบ่งพฤติกรรมเป็น 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวภายนอก ( Explicit movement ) เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นหรือวัดได้ เช่น การนั่ง นอน กิน เดิน ฯลฯ กับ พฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวภายใน ( Implicit movement ) เป็นพฤติกรรมที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา นอกจากวัดได้ด้วยเครื่องมือที่ เหมาะสม ( Sensitive Instruments ) เช่น การคิด การเกร็งของ กล้ามเนื้อ เป็นต้น
3. ยอมรับเฉพาะระเบียบวิธีแบบปรนัย ( Objective Method ) หรือระเบียบวิธีที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ ใช้กัน ไม่ยอมรับวิธีการสังเกตตนเอง ( Introspection Method ) หรือลักษณะวิธีอัตนัย ( Subjective Method ) ต้องการให้ระเบียบวิธีทางจิตวิทยา ( Psychology Method ) เป็นสากล
4. มุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมโดยเฉพาะ ต้องการให้วิชาจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ พฤติกรรม
5. ยอมรับเฉพาะข้อมูล ( Data ) ที่ได้จากระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น นำเอาระเบียบวิธีการสังเกต พฤติกรรม ( Behavior method ) มาใช้เป็นสำคัญ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ผู้สังเกตจะต้องบันทึกเฉพาะ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง พบเห็นจริง ๆ เท่านั้น ไม่บันทึกความรู้สึกลงไปด้วย
กลุ่ม Behaviorism ประกอบด้วยกลุ่มย่อยๆ หลายกลุ่ม เช่น
1. กลุ่มที่อาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องสมอง ( Cerebrology ) กลุ่มนี้นำเอาความรู้ความเข้าใจในวิชาสรีรวิทยาใช้ในการอธิบายเรื่อง พฤติกรรม เชื่อว่าอวัยวะนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญและทำหน้าที่ในการแสดง พฤติกรรมได้แก่ สมอง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง
2. กลุ่มที่อาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องปฏิกิริยาสะท้อน ( Reflexology ) มุ่งศึกษา พฤติกรรมง่าย ๆ และการแสดงปฏิกิริยาสะท้อน ( Reflex ) เช่น การศึกษาเรื่องการเกิดปฏิกิริยาตอบ สนอง หรือการเกิดปฏิกิริยาสะท้อน แบบวางเงื่อนไข ( Conditioned Response or Reflex )
การแสดงปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ย่อม ต้องอาศัยสิ่งเร้า ( Stimulus ) ทำหน้าที่กระตุ้นให้สิ่งมีชีวิตแสดงปฏิกิริยาสะท้อนออกมา อินทรีย์ ( Organism ) อันมีประสาทสัมผัส ( Receptor หรือ Sensory neurons ) ทำหน้าที่รับการเร้าจากสิ่งเร้าแล้วรายงานไปยังประสาทส่วนกลาง ประสาทที่ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ( Effectors หรือ Motor neurons) ทำหน้าที่บงการหรือก่อให้เกิดการแสดง ปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า

5.4 แนวคิดกลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis )
กลุ่มจิตวิเคราะห์มีผู้นำแนวคิดคนสำคัญคือ ซิกมันต์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตของมนุษย์และอธิบาย ว่า พลังงานจิตทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มี 3 ลักษณะ
1. จิตสำนึก ( Conscious Mind ) หมายถึง ภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
2. จิตกึ่งสำนึก ( Subconscious Mind ) หมายถึง ภาวะจิตที่ระลึกได้
3. จิตไร้สำนึก ( Unconscious Mind ) หมายถึง ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัว
ฟรอยด์อธิบายว่าโครงสร้างทางจิตประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ Id ,Ego และ Superego คือ
อิด ( Id ) หมายถึง ตัณหา หรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ ขัดเกลา ซึ่งทำให้มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจของตน หรือทำงานตามหลักของความพอใจ ( Law of Pleasure ) โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด เปรียบเสมือนสันดานดิบของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น สัญชาติญาณแห่งการมีชีวิต ( Life Instinct ) เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย กับสัญชาติแห่งการตาย ( Dealth Instinct ) เช่น ความต้องการก้าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
อีโก้ ( Ego ) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ id โดยอาศัย กฎเกณฑ์ทางสังคม และหลักแห่งความจริง ( Reality Principle ) มาช่วยในการตัดสินใจไม่ใช่แสดงออกตามความพอใจของตนเพียงอย่างเดียว แต่ ต้องคิดแสดงออกอย่างมีเหตุมีผลด้วย
ซุปเปอร์อีโก ( Super Ego ) หมายถึง มโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัมนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอนหรือกระบวนการสังคมประกิต โดยอาศัยหลักการศีลธรรมจรรยา ขนบ ธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่าง ๆ ในสังคมนั้น Super Ego จะเป็นตัวบังคับและควบคุมความคิดให้แสดงออก ในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม






ภาพ Sigmund Freud (ค.ศ. 1856-1936)

โครงสร้างจิต 3 ระบบนี้ มีความสัมพันธ์กัน ถ้าทำงานสัมพันธ์กันดี การแสดงออกหรือบุคลิกภาพ ก็เหมาะสมกับตน แต่ถ้าโครงสร้างทั้ง 3 ระบบ ทำหน้าที่ขัดแย้งกันบุคคลก็จะมี พฤติกรรมหรือบุคลิกภาพที่ไม่ราบรื่นผิดปกติหรือไม่เหมาะสม แนวความคิดกลุ่มนี้เชื่อในเรื่องจิตไร้สำนึก ( UnconsciousMind ) ซึ่งอยู่ระหว่างจิตสำนึกที่รู้ตัว มีสติสัมปชัญญะ กับจิตไร้สติสัมปชัญญะ หรือที่เรียกว่า จิตไร้สำนึกนี้จะรวบ รวมความคิด ความต้องการ และประสบการณ์ที่ผู้เป็นเจ้าของจิตไม่ต้องการ หรือ ไม่ปรารถนาจะจดจำจึงเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ให้อยู่ในจิตส่วนนี้และหากความคิด ความต้องการ หรือความรู้สึก ต่างๆ ทีบุคคลเก็บกดไว้ยังมีพลังอยู่ ถ้าเกิดมีสิ่งใดมากระตุ้นขึ้น พลังที่ ถูกเก็บไว้จะแสดงอิทธิพลทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่รู้สึกตัว อนึ่ง ประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็ก โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดถึง 5 ขวบ ที่เกี่ยวกับ การอบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับจะฝังแน่นอยู่ในจิตไร้สำนึกและอาจจะแสดงเมื่อถูกกระตุ้นโดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ฟรอยด์ก็ได้กล่าวถึงพัฒนาการของมนุษย์ไว้อีกด้วย

พัฒนาการบุคลิกภาพ
ตามแนวคิดของฟรอยด์แบ่งการพัฒนาการบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นปาก ( Oral Stage ) แรก เกิด 12 ขวบ หมายถึง ความสุข และความพอใจของเด็กจะอยู่ที่ได้รับการตอบสนองทาง ปาก เช่น การดูดนม การสัมผัสด้วยปากหากเด็กได้รับการตอบสนองเต็มที่ เด็กก็จะ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพเหมาะสมหากตรงกันข้ามเด็กจะเกิดความ ชะงัก ถดถอย ( Fixation ) และมาแสดงพฤติกรรมในช่วงนี้อีกในวัยผู้ใหญ่ เช่น ชอบนินทาว่าร้าย สูบบุหรี่ กินจุบ กินจิบ เป็นต้น
2. ขั้นทวารหนัก ( Anal Stage ) อายุ 23 ขวบ หมายถึงความพอใจอยู่ที่การขับถ่ายเมื่อมีวุฒิภาวะ ฉะนั้น การ ฝึกฝน ฝึกหัด การขับถ่ายอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยวิธีผ่อนปรนและประนี ประนอม และให้เรียนรู้การขับถ่ายเป็นเวลา จะทำให้เด็กไม่เกิดความเครียด และ สามารถพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมได้ ตรงกันข้ามหากเด็กได้รับการลงโทษ และ ฝึกหัดด้วยวิธีรุนแรงจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่พอใจ และเก็บความรู้สึก ที่ไม่ดีไว้ที่จิตไร้สำนึก และจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมา กล่าวคือเป็นคนขี้เหนียว เจ้าระเบียบ ชอบทำร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด ชอบย้ำคิด ย้ำทำ เป็น็นต้น
3. ขั้นอวัยวะเพศ ( Phallic Stage ) อายุ 35 ขวบ หมายถึงความสนใจของเด็กจะเปลี่ยนมาสนใจเกี่ยวกับอวัยวะเพศ มักถามว่าตน เกิดมาจากทางไหน ฯลฯ ในขั้นนี้เด็กจะรักพ่อแม่ที่เป็นเพศ ตรงข้ามกับตน และลักษณะเช่นนี้ ทำให้เด็กเลี่ยนแบบบทบาททางเพศจากพ่อหรือแม่ ที่เป็น ตัวแบบ หากพ่อแม่ปฏิบัติตามบทบาทที่ดี เหมาะสมเป็นตัวแบบที่ดี เด็ก ก็จะเลียนแบบและพัฒนา บทบาททางเพศของตนได้อย่างดี แต่ถ้าเกิดการติดตรึง ( Fixation ) ในขั้นนี้ เมื่อโตขึ้นอาจมีพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น รักร่วมเพศ ( Homosexuality ) กามตายด้าน ( Impotence ) เย็นชาทางเพศ ( Frigidity ) เป็นต้น
4. ขั้นแฝง ( Latency Stage ) อายุ 612 ขวบ หมายถึงเป็นระยะก่อนที่เด็กจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยรุ่น จะมีความสนใจในเพื่อนเพศเดี่ยวกัน
5. ขั้นวัยรุ่น ( Genital Stage ) อายุ 1318 ขวบ หมายถึงเด็กหญิงจะเริ่มมีความสนใจเด็กชายและเด็กชายก็เริ่มมีความ สนใจเด็กหญิงเป็นระยะที่จะมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศอย่างแท้จริง
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ยังเชื่อว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจากพลังผลักดันทางเพศ ความคิด เช่นนี้ได้รับการต่อต้านอย่างมากในระยะแรก ๆ แต่ต่อมาหลักการทางจิตวิเคราะห์ก็ได้รับการยอมรับในการนำไปใช้ในวงงานของ จิตแพทย์ หรือการบำบัดรักษาอาการที่ผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ กลุ่มนี้ใช้ วิธีการศึกษาด้วยระบบความในใจอย่างเสรี ( Free Association ) อย่างไรก็ดีในที่นี้เปรียบเทียบกลุ่มจิตวิเคราะห์กับกลุ่มโครงสร้างทางจิตและหน้าที่ทางจิตดังนี้

กลุ่ม Psychoanalysis กลุ่ม Structuralism / Functionalism
1. เชื่อว่าจิตไร้สำนึก (Unconscious mind)มีบทบาทสำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมของ มนุษย์เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดพลังทางจิตที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรม 1.ถือว่าจิตรู้สำนึก ( Conscious mind ) มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการแสดงพฤติกรรมของบุคคลและถือเป็นแหล่งพลังที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรม
2. มีความเห็นว่าการที่มนุษย์แสดงพฤติกรรม
ออกไปนั้นจะถือว่าเป็นการกระทำตามหลัก
แห่งเหตุ (Rational behavior ) ก็ไม่ใช้หรือ
จะถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้สอดคล้องกับ
หลักแห่งศีลธรรม ( Moral behavior) ก็ไม่
เชิงเพราะเหตุว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้น
เกิดจากพลังของจิตที่ไร้สำนึก
2. มีความเห็นว่า มนุษย์คือสัตว์สังคมย่อม
ประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบทางด้าน
ศีลธรรมและวัฒนธรรมพฤติกรรมของ
บุคคล จึงเป็นกระบวนวิธีที่อาศัยสติปัญญา
หรือการกระทำที่ประกอบไปด้วยความรู้สึก
ผิดชอบชั่วดี มีเหตุมีผล


ตารางแสดงเรื่องการเปรียบเทียบแนวคิดกลุ่ม Psychoanalysisกับกลุ่ม Structuralism และกลุ่ม Functionalism

สาเหตุที่ทฤษฎีของ Freud ถูกคัดค้านโจมตี
1. ถูกโจมตีว่ามองโลกในแง่ร้าย ( Pessimistic ) เพราะใช้ถ้อยคำแปลก เช่น Freud กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของชีวิตคือความตาย “ ( The goal of all life is death ) ใช้ศัพท์ถ้อยคำชวนมองโลกในแง่ร้าย เช่น สัญชาติญาณแห่งความตาย ( Death instincts ) สัญชาติญาณแห่งการดำรงพันธุ์( Sexual instincts ) การก้าวร้าว ( Aggression ) ความรู้สึกสำนึกในความคิด ( Guilt )
2. กลุ่มทดลองมีขอบเขตจำกัด เพราะ Freud สังเกตพฤติกรรมของชาวยุโรปซึ่งมี ฐานะ ปานกลางที่ค่อนข้างสูง หรือระดับสูง ( The upper middle or the upper class Europeans ) จึงถือว่าทฤษฎีของ Freud เป็นจริงสำหรับบางสังคมเท่านั้น ไม่จริงสำหรับ บุคคลในสังคมทั่วไป
3. ทฤษฎีของ Freud ไม่คงที่ ( Dynamics ) ไม่แน่นอนตายตัว เพราะ Freud ได้พยายามค้นคว้าและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
4. ความไม่ชัดเจนของคำอธิบายที่ Freud สร้างขึ้น

5.5 แนวคิด กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล ( Gestalt Psychology )
กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล แนวความคิดกลุ่มนี้ เกิดในประเทศเยอรมันนีราวปี ค.ศ. 1912 คำว่า Gestalt เป็นภาษาของเยอรมัน แปลว่า โครงรูปแห่งการรวม หน่วยผู้นำของกลุ่มนี้ คือ แมกซ์ เวิทโฮเมอร์ ( Max Wertheimer 18801943 ) และมีผู้ร่วมงานคือ เคิท คอฟก้า ( Kurt Koffka 18861941 ) วูล์ฟแกง เคอเลอร์ ( Wolfkang Kohler ) ภายหลังบุคคลเหล่านี้ได้อพยพมาอยู่ในอเมริกา แนวความคิดที่สำคัญของนัก จิตวิทยากลุ่มนี้คือ การพิจารณาพฤติกรรมหรือประสบการณ์ของคนเป็นส่วนรวมซึ่งส่วนรวมนั้นมีค่ามากกว่าผลบวก ของส่วนย่อย ๆ ต่าง ๆ มารวมกัน เช่น คนนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อยต่าง ๆ เช่น แขน ขา ลำตัว สมอง เป็นต้น





ภาพ Max Wertheimer
ในด้านการรับรู้ของบุคคล ก็มีลักษณะในรูปของส่วนรวม ( The whole ) เช่น สนามหญ้าเรามองเห็นเป็นสนาม เพราะเราไม่มองต้นหญ้าแต่ละต้นที่มาอยู่รวมกัน แต่เรามองพื้นที่และรูปร่างทั้งหมด
คำว่าเกสตอล ( Gestalt ) ซึ่งหมายถึงส่วนรวมทั้งหมดกลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกัน เริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อน แล้วจึงจะสามารถแยก วิเคราะห์เรื่องราวเรียนรู้ส่วนย่อยที่ละส่วนต่อไป ( Field Theory ) และยังคงใช้หลักการเดียวกัน นั่นก็คือ การเรียนรู้ของบุคคลจะเป็นไปได้ ด้วยดีและสร้างสรรค์ถ้าเขาได้มีโอกาสเห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่จะเรียน เสียก่อนเมื่อเกิดภาพรวมทั้งหมดแล้ว ก็เป็นการง่ายที่บุคคลนั้นจะเรียนสิ่ง ที่ละเอียดปลีกย่อยต่อไป
ปัจจุบัน ได้มีผู้นำเอาวิธีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวางโดยเหตุ ที่เชื่อในผลการศึกษาค้นคว้าที่พบว่า ถ้าให้เยาวชนได้เรียนรู้โดยหลักของเกสตัลท์แล้ว เด็กเหล่านี้จะมีสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์และความรวดเร็วในการ เรียนรู้เพิ่มขึ้น หลักสำคัญของการเรียนรู้ของแนวคิดจิตวิทยาเกสตัลท์ ประกอบด้วย การรับรู้และการหยั่งเห็น อธิบายคือ
1. การรับรู้ ( Perception ) หมายถึง การแปลความหมายหรือการตีความจากสิ่งเร้าที่สัมผัส การรับรู้นี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1.1 ภาพ ( Figure ) หมายถึง ส่วนสำคัญที่ต้องการเน้นให้เกิดการรับรู้
1.2 พื้น ( Ground ) หมายถึง ส่วนประกอบที่ทำให้ภาพชัดเจนขึ้น
ต่อมาในระยะหลังแนวคิดจิตวิทยาเกสตอลจัดเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาหลาย สาขา เช่น จิตวิทยาการบำบัด จะใช้แนวคิดของจิตวิทยาเกสตอลเป็นอย่างมาก วิธีการที่ใช้คือ คือ การสังเกตแบบปรากฏการณ์ หรือเรียกว่า Phenomenology เป็นการพิจารณาจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติที่ปรากฏให้เราเห็น อย่างไรก็ดีแนวคิด จิตวิทยาเกสตัลท์สนใจเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์จะศึกษามนุษย์ทั้งหมดที่เป็นตัวเขา
2. การหยั่งรู้ ( Insight ) หมาย ถึง การเรียนรู้หรือแก้ปัญหาได้โดยการตระหนักรู้ด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด สามารถมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการซึ่งความ สามารถในการหยั่งรู้ของบุคคลขึ้นอยู่ประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนซึ่งมีลักษณะ ใกล้เคียงกับปัญหาที่ต้องขบคิด

5.6 แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism )
กลุ่มมนุษยนิยมมีผู้นำที่สำคัญในกลุ่มคือ คาร์ล อาร์ โรเจอร์ส ( Carl R. Rogers ) และ
อับบราฮัม เอ็ช มาสโลว์ ( Abraham H. Maslow ) รูปที่ 9-1 คาร์ล อาร์ โรเจอร์ส





ภาพ Abraham H.Maslow


ความเชื่อเบื้องต้น ของนักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ
1. เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์โลกประเภทหนึ่งที่มีจิตใจ มีความต้องการความ รัก มีความต้องการความอบอุ่น มีความเข้าใจ มีความสามารถเฉพาะตัว มีขีด จำกัด ไม่สามารถจะเสกสรรปั้นแต่งให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบและมนุษย์มีความดีงามติด ตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวคิดแตกต่างจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ เห็นว่าเราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
2. เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self actualization ) และยอมรับในสมรรถวิสัยของตนเอง
แนวความคิดจากกลุ่มนี้ เป็นที่ยอมรับและใช้เป็นหลักในบริการแนะแนว ( Guidance service ) และยังนำหลักการไปปรับใช้ในด้านการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตรเน้นให้ นักเรียนรู้จักเสาะแสวงหาความรู้ตนเองให้มีอิสระเสรี ในเรื่องการ พูด คิด ทำ สามารถจะสนองความต้องการและความสนใจ ในการสอนก็ตระหนักถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมทุกอย่างถือว่าเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นเพียง ผู้ให้บริการและประสานงานแนวคิดของกลุ่มมนุษย์นิยมเป็นปัจจัยสำคัญกำหนด บทบาท ท่าที บุคลิกภาพของครูให้วางตัวเป็นตนเองกับเด็ก มีสัมพันธภาพที่ดี ต่อเด็ก

3. มีความเชื่อว่า ในเมื่อมนุษย์เราทุกคนต่างก็เข้าใจผู้อื่น และยอมรับตนเองอยู่แล้วต่างคนก็มุ่งสร้าง ย่อมเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนเอง
4. เนื่องจากมนุษย์เราแต่ละคนต่างพยายามปรับปรุงตนเอง ให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ฉะนั้นควรจะให้คนมีสิทธิ์อิสระที่จะเลือกกระทำ เลือกประสบการณ์ของตนเอง กำหนดความต้องการของ ตนเอง ตัดสินใจใด ๆ ด้วยตนเอง
5. มีความเห็นว่า วิธีการค้นคว้าเสาะแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญนำความรู้และข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงเองที่ตายตัว ฉะนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของผู้เรียนมากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้
จิตวิทยา กลุ่มต่าง ๆ ต่างก็มีบทบาทในการศึกษา เพื่ออธิบายพฤติกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพขึ้นแต่อย่าเข้าใจว่าลำพังวิชาจิตวิทยา อย่างเดียวจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้แจ่มแจ้ง วิชาจิตวิทยาเป็นเพียงกฎเกณฑ์พื้นฐาน เป็นรากฐานในการที่จะศึกษาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การแนะแนว การวัดผล เป็นต้น
แนวคิดทฤษฎีของกลุ่มต่างๆ ทางจิตวิทยา
ที่ กลุ่มจิตวิทยา ผู้นำกลุ่ม แนวคิด/ทฤษฎี วิธีการศึกษา
1 กลุ่ม
โครงสร้างของจิต
วิลเฮล์ม วู้นท์
โครงสร้างทางจิตแบ่งเป็น 1. การสัมผัส
2. การรูสึก
3. การจินตนาการ การตรวจสอบ ตนเองหรือการพินิจภายใน

2 กลุ่มหน้าที่ของจิต
วิลเลี่ยม เจมส์จอห์น ดิวอี้
หน้าที่ของจิตควบคุม กระบวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
การสังเกต พฤติกรรม

3 กลุ่ม
พฤติกรรมนิยม
จอห์นบีวัตสัน
พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุและ
1. การวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรม 2. พฤติกรรมของคนเกิดจากการเรียนรู้มากกว่าสัญชาติญาณ
3. พฤติกรรมการเรียนรู้ของสัตว์นำไปอธิบาย พฤติกรรมของมนุษย์ได้ การสังเกตอย่างมีแบบแผนการทดลอง

4 กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ แมกซ์ เวอไทเมอร์เคอร์ท เลอวิน
วอฟแกง โคเลอร์ เคอร์ท คอฟกา
การเรียนรู้เน้นส่วนรวม ทั้งหมดมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน
1. การรับรู้
2. การหยั่งเห็น การทดลอง

5 กลุ่มจิตวิเคราะห์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ เน้น ความสำคัญของจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นผลจากการ อบรมเลี้ยงดูในช่วงต้นของชีวิตหรือห้าขวบแรกของชีวิตเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในเวลาต่อมา
การระบายความในใจ อย่างเสรี

6 กลุ่มมนุษยนิยม คาร์ลอาร์โรเจอร์ส
อับบราฮัมมาสโลว์
เน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เคารพตนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1. การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง วิธีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เป็นขั้นตอน มีแบบแผน มีหลักการที่แน่นอน มีวิธีการดำเนินการที่สามารถพิสูจน์และอธิบายได้ และมีการบันทึกรายงานอภิปรายผบลการ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
2. พฤติกรรม เป็นการกระทำหรือกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่สามารถสังเกต บันทึก วัดได้ และการกระทำที่ไม่สามารถสังเกเห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 พฤติกรรมภายนอก เป็นการกระทำที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส หรือใช้เครื่องมือช่วยวัดได้ เช่น การวิ่ง การเดิน การพูด การกิน การนั่ง เป็นต้น
2.2 พฤติกรรมภายใน เป็นการกระทำที่ไม่สามารรถสังเกตเห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส ไม่มีใครรู้ได้ นอกจากตัวเองเท่านั้น เช่น การคิด การจำ การรับรู้ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ
3. กระบวนการทางสมอง เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการมีเหตุผลของการเกิดพฤติกรรม ที่เกี่ยวกับจิตใจของเรา กระบวนการทางสมองประกอบด้วย การคิด การจำ การรับรู้ อารมณ์ แรงจูงใจ ความฝัน และความเชื่อ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการทางสมองเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์เกิดพฤติกรรม ทั้งพฤติกรรม ภายในและพฤติกรรมภายนอก
จากที่กล่าวมา นักศึกษาจะเห็นได้ว่า โดยภาพรวม จิตวิทยาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล และกระบวนการทางสมอง ซึ่งนักจิตวิทยาพยายามที่จะทำความเข้าใจถึงอิทธิพลทางด้านชีวิวิทยา ด้านร่างกาย และสังคมสิ่งแวดล้อม ว่ามีผลต่อพฤติกรรมอย่างไรและเกี่ยวข้องกันเพียงไหน ซึ่งวิชาจิตวิทยาจะช่วยให้ นักศึกษาได้ทราบถึงการเกิดพฤติกรรม และสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมของบุคคลได้เป็นอย่างดี
จิตวิทยาหมายถึง    การศึกษาพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตในเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต  แล้วนำไปอธิบาย  ทำนายหรือคาดคะเน  และควบคุมพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตในที่สุด
 พฤติกรรมคือ  การกระทำของบุคคลประกอบด้วยพฤติกรรมภายนอกที่สังเกตได้ชัดเจน   และพฤติกรรมภายในซึ่งผู้อื่นไม่สามารถสังเกตได้   แต่อาจวัดได้ด้วยเครื่องมือหรือเครื่องวัดบางอย่าง  เช่น  อาจวัดเชาวน์ปัญญาได้ด้วยแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา  เป็นต้น
 กระบวนการทางจิต  หมายถึง   การคิด   ความรู้สึก  แรงจูงใจ  ฯลฯ  ซึ่งเป็นประสบการณ์ของแต่ละบุคคล   ผู้อื่น  ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง
 การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์  คือการศึกษาอย่างเป็นระบบโดยการสังเกต การอธิบาย, การทำนาย และการควบคุม (ประยุกต์) โดยความรู้หรือข้อมูลที่ได้ สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือทั้งสองวิธีดังนี้
 1. ตรวจสอบโดยวิธีประจักษ์ คือ ตรวจสอบได้โดยการสัมผัส เช่น สามารถตรวจสอบได้ว่า เมื่อให้รางวัลหลังจากเด็กทำการบ้านถูกต้องแล้ว เด็กจะทำการบ้านอีกเมื่อครูให้การบ้าน (หลักการเสริมแรง) ก็สามารถทำได้โดยการสังเกต เป็นต้น
 2. ตรวจสอบโดยวิธีวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ซึ่งสามารถทำได้สองวิธีคือ
     2.1 การนิรภัย คือ การนำกฎ หรือทฤษฎี ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า ถูกต้องไปตรวจสอบ เช่น สามารถตรวจสอบได้ว่า เด็กน่าจะทำการบ้านที่เราให้ หากที่ผ่านมาเมื่อเด็กส่งการบ้านมาแล้ว เราให้รางวัล ทั้งนี้เป็นเพราะการกระทำของเรา (ให้รางวัล) เป็นไปตามหลักการเสริมแรง นั่นเอง
     2.2 การอุปนัย คือ การสรุปเป็นกฎ หรือทฤษฎี จากเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ย่อย ๆ เช่น เราสามารถสรุปได้ว่า เมื่อบุคคลทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปแล้วได้รับรางวัลตอบแทนบุคคลก็จะทำสิ่งนั้นอีก เนื่องจากที่ผ่านมาเราสังเกตเห็น(ทราบ) ว่า คนที่ได้รับรางวัลมักจะทำในสิ่งที่ตนเคยได้รับ รางวัลมาแล้วเสมอ เป็นต้น
 วิธีการที่ใช้ในการศึกษาจิตวิทยามีหลายวิธี จะกล่าวถึงเพียงบางวิธีเท่านั้น ดังนี้
 1. การสังเกต ซึ่งทำได้โดยการสังเกตอย่างมีแบบแผน คือสร้างเงื่อนไขหรือสถานการณ์ขึ้นเพื่อสังเกตพฤติกรรม เช่น สังเกตว่าเด็กจะมีพฤติกรรมอย่างไร เมื่อยู่ในภาวะหวั่นกลัว เป็นต้น หรืออาจสังเกตโดยไม่มีแบบแผน คือ ไม่ต้องเตรียมการ หรือจัดเงื่อนไขหรือสถานการณ์ขึ้นก็ได้ เช่น สังเกตพฤติกรรมเด็กขณะรับประทานอาหารกลางวันเพื่อทราบถึงมารยาทในการรับประทาน เป็นต้น อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการสังเกตแบบไหนก็ต้องมีจุดมุ่งหมายในการสังเกตชัดเจนว่าจะสังเกตอะไร และยังต้องอาศัยผู้สังเกตที่มีความรู้และประสบการณ์โดยตรงอีกด้วย จึงจะได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้
 2. การทดลอง คือ การกำหนดตัวแปรที่ต้องการทราบผล ให้แก่ผู้ที่ถูกทดลอง (กลุ่มตัวอย่าง) เพื่อดูผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร ทำให้สรุปได้ว่าตัวแปรตัวหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดตัวแปรอะไร หรือตัวแปรที่เกิดขึ้น (ผล) มีสาเหตุมาจากอะไร เช่น ต้องการทราบว่า คำชมเชยมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือไม่ ก็อาจทดลองได้โดยสุ่มตัวอย่างนักเรียนมา 2 กลุ่ม ให้เรียนบทเรียนเดียวกัน ครูคนเดียวกัน วิธีสอนเดียวกัน สอบด้วยข้อสอบเดียวกัน แต่กำหนดให้กลุ่มที่ 1 ได้รับคำชมเสมอเมื่อตอบคำถามของครู หรือทำตามที่ครูกำหนดให้ ส่วนกลุ่มที่ 2 จะไม่ได้รับคำชม หรือตำหนิเลย เมื่อจบบทเรียนแล้วทดสอบ นำผลการสอบของ 2 กลุ่ม มาเปรียบเทียบกัน ถ้าปรากฏว่า กลุ่มที่ 1 มีผลการเรียนดีกว่ากลุ่มที่ 2 ก็สามารถสรุปได้ว่า คำชมเชยมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นั่นคือคำชมเชยเป็นเหตุให้ผลการเรียนดีขึ้น เป็นต้น
 3. การศึกษาความสัมพันธ์ ทำโดยหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี เช่น หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ทำให้ทราบขนาดและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้ ตัวอย่างเช่น ต้องการทราบว่า ความวิตกกังวลกับความเชื่อมั่นในตนเองของบุคคลมีความสัมพันธ์กันอย่างไรหรือไม่ ก็สามารถคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ ถ้าค่าความสัมพันธ์ (r) เป็น -0.8 (ค่า r จะอยู่ระหว่าง 1, .9, .8, ....0, ...-.8, - .9 , -1) แสดงว่า ถ้าบุคคลมีความวิตกกังวลสูง จะมีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ หรือถ้าบุคคลมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง จะมีความวิตกกังวลต่ำก็ได้ หรือถ้าหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างความคิดอย่างมีเหตุผลกับความสามารถในการแก้ปัญหาแล้วพบว่าค่า r มีค่า 0.9 แสดงว่า บุคคลที่คิดอย่างมีเหตุผลยิ่งมากเท่าไร ก็ยิ่งจะแก้ปัญหาได้สำเร็จมากเท่านั้น หรือถ้าแก้ปัญหาได้สำเร็จมากเท่าไร ก็ยิ่งต้องใช้เหตุผลมากเท่านั้น เป็นต้น
 4. การทดสอบด้วยแบบทดสอบมาตรฐาน อาทิ ทดสอบเชาวน์ปัญญา ความถนัด บุคลิกภาพ แรงจูงใจ เจตคติ เป็นต้น
 5. การศึกษารายกรณี คือ การศึกษาบุคคลแต่ละคนอย่างละเอียดลึกซึ้ง ครอบคลุมทุกด้านจนเข้าใจพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตวิทยาของบุคคลนั้นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
 จิตวิทยามีหลายสาขา จะกล่าวถึงบางสาขา ได้แก่
 1. จิตวิทยาทั่วไป หรือจิตวิทยาเบื้องต้น เป็นการศึกษา ทฤษฎี กฎ หรือความรู้ทางจิตวิทยาโดยทั่วไป เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาขอบข่ายของจิตวิทยาทั้งหมด
 2. จิตวิทยาคลีนิค เป็นการศึกษาสาเหตุ ป้องกัน และบำบัดพฤติกรรม และกระบวนการทางจิตที่ผิดปกติ
 3. จิตวิทยาให้คำปรึกษาเป็นการศึกษาและช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
 4. จิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาพัฒนาการของบุคคล (การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ในแต่ละวัย)
 5. จิตวิทยาการศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอน เพื่อจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
 6. จิตวิทยาทดลอง เป็นการทดลองทางจิตวิทยาเพื่อสร้าง กฎ ทฤษฎี หรือความรู้ต่าง ๆ ทางจิตวิทยาขึ้น
 7. จิตวิทยาอุตสาหกรรม (องค์การ) เป็นการศึกษาพฤติกรรมการทำงาน ความเป็นผู้นำ แรงจูงใจ ขวัญกำลังใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน ฯลฯ
 8. จิตวิทยาบุคลิกภาพ เป็นการศึกษาบุคลิกภาพของบุคคล
 9. จิตวิทยาโรงเรียน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน การทดสอบ    การฝึกอบรม ฯลฯ
 10. จิตวิทยาสังคม เป็นการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มคน หรือพฤติกรรมของกลุ่ม ตลอดจนความคิด ความเชื่อต่าง ๆ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น